ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence) : ข้อมูลควรรู้ 02  65

คำสำคัญ : 

ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence)

4. ด้านการเรียนรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy)

4.1 การใช้งานสื่อสารสนเทศ (Media and Information Use)

รูปแบบข้อมูลดิจิทัล

  1. แบ่งตามแหล่งข้อมูล
    • ผลิตข้อมูลโดยเจ้าของแหล่งข้อมูล เช่น ข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ
    • การผลิตข้อมูลโดยชุมชนผู้ใช้งาน เช่น ข้อมูลใน FACEBOOK Pantip หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ
  2. แบ่งตามสิทธิการเข้าถึงข้อมูล
    • ข้อมูลที่สามารถเข้าถึงโดยเสรี
    • ข้อมูลที่จำกัดการเข้าถึง
  3. แบ่งตามประเภทของข้อมูล

เช่น แหล่งข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ เพื่อความบันเทิง ข้อมูลด้านสุขภาพ ด้านธุรกรรมทางการเงิน
ด้านเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ เป็นต้น        

เกณฑ์การประเมินคุณภาพของข้อมูลจากสื่อดิจิทัล

  1. ข้อมูลนั้นมีความทันสมัยอยู่หรือไม่
  2. ข้อมูลตอบโจทย์การใช้งานของเราหรือไม่
  3. ข้อมูลได้นำเสนอข้อเท็จจริงหรือเป็นความคิดเห็น มีอคติ หรือมีแหล่งอ้างอิงหรือไม่
  4. ผู้เขียนมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นหรือไม่
  5. วัตถุประสงค์ของข้อมูลคืออะไร เช่น แจ้งให้ทราบหรือชวนเชื่อ

ลักษณะข้อมูลที่มีคุณภาพ

ทันสมัย : ข้อมูลต้องเป็นปัจจุบันหรืออัปเดท วันที่เผยแพร่ผ่านมาไม่นาน ยังสามารถเปิดลิงก์เว็บไซต์ได้

ตอบโจทย์ : มีเนื้อหา หัวข้อเรื่อง และวัตถุประสงค์ตรงกับที่เราต้องการ นำเสนอเนื้อหาสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกับตัวเรา

เที่ยงตรง แม่นยำ : เนื้อหาใช้ภาษาถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ข้อมูลถูกต้องสามารถตรวจสอบได้ มีแหล่งอ้างอิงที่มาข้อมูล และนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นมืออาชีพ

ผู้เขียนมีความน่าเชื่อถือ : มีการระบุผู้เขียนชัดเจน มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียน และผู้เขียนมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ คุณวุฒิที่เหมาะสมกับเนื้อหา

ผลของการแบ่งปันเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม

  • การฝากร้าน ขายของ และส่งข้อความก่อกวนโดยไม่ได้รับอนุญาต : โทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
  • โพสต์หรือแชร์ข้อมูลเท็จที่สร้างความเสียหายต่อบุคคล หรือประเทศ : โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนและระงับข้อมูลนั้น
  • โพสต์ข้อมูลปลอม ข้อมูลทุจริตหลอกลวง ที่สร้างความเสียหายต่อความมั่นคง : โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนและระงับข้อมูลนั้นหรือลงโทษตามมาตรา
  • โพสต์หรือแชร์ข้อมูลภาพตัดต่อที่สร้างความเสื่อมเสียต่อผู้อื่น : โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนและระงับข้อมูลนั้น

4.2 ผู้จัดทำสื่อและสารสนเทศ (Media and Information Create)

หลักการสร้างเนื้อหาให้ถูกกฎหมายและมีจริยธรรม

“Creative Common” เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่สนับสนุนการแบ่งงานสร้างสรรค์ข้อมูลตามแนวทางในการใช้งานและลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์แบบเดิม : ห้ามทุกคน ห้ามทุกอย่าง เป็นกรอบแนวคิดของสมัยเดิมก่อนเกิดเทคโนโลยีสารสนเทศและแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต

Creative Common: เสนอทางเลือกที่เจ้าของลิขสิทธิ์ สามารถแบ่งปันข้อมูลได้ และเลือกสงวนสิทธิ์ตามที่ต้องการได้

ประเภทรูปแบบของ Creative Commons (CC license)

Attribution (BY) , Share Alike (SA) , Non-Commercial (NC) , No Derivative Works (ND)

  1. CC BY : แจกจ่าย เปลี่ยนแปลง ดัดแปลงใช้งานอย่างไรก็ได้ รวมถึงการค้าและต้องมีการอ้างอิง
  2. CC BY-SA : ยอมให้เปลี่ยนแปลง ดัดแปลง รวมถึงการค้าและต้องมีการอ้างอิง
  3. CC BY-ND : ยอมให้ใช้และแจกจ่ายต่อ รวมถึงการค้าและต้องมีการอ้างอิง แต่ห้ามดัดแปลง
  4. CC BY-NC : ยอมให้เปลี่ยนแปลง ดัดแปลงและต้องมีการอ้างอิง แต่ห้ามใช้ทางการค้า
  5. CC BY-NC-SA : อนุญาตเผยแพร่ ดัดแปลง และต้องมีการอ้างอิง แต่ห้ามใช้ทางการค้า
  6. CC BY-NC-ND : แบ่งปันน้อยที่สุดใน 6 รูปแบบ ห้ามดัดแปลง ห้ามใช้ทางการค้า และต้องมีการอ้างอิง

ผลจากการสร้างเนื้อหาที่ละเมิดตามกฎหมายที่ละเมิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2550 และ 2560

  • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเสียชีวิต ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง ตามมาตรา 16ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
  • การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น ที่ไม่มีความจริง ตามมาตรา 14(1)(5) ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3-5 ปี ปรับไม่เกินหกหมื่น-1แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • การทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งข้อความ เพลง รูปภาพหรือวีดีโอ ตามมาตรา14 (5) ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5ปี หรือปรับไม่เกิน 1แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดีวันจันทร์ ถือว่าไม่ผิด ถ้าไม่นำไปใช้หารายได้

5. ด้านการสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication)

5.1 ร่องรอยของดิจิทัล (Digital Footprint)

คือ ข้อมูลพฤติกรรมในการใช้งานในโลกดิจิทัลทั้งการค้นหาข้อมูล สินค้า-บริการ การใช้งานโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการโพสต์คอมเมนต์ แชร์เนื้อหาหรือแม้แต่การแชทส่วนตัว

เครื่องมือช่วยจัดการรอยเท้าดิจิทัล

- แอปจัดการรหัสผ่าน จะช่วยดูแลการซิงค์รหัสผ่านกับบัญชีต่างๆ และแจ้งเตือนเมื่อรหัสผ่านรั่วไหล เช่น Dropbox Passwords ,1Passwords, Lastpass , iCloud Passwords, Chrome Password Manager, Microsoft Authenticator

- แอปหรือเวบไซต์ช่วยป้องกันการติดตาม จะช่วยป้องกันการติดตามและบันทึกการใช้งานต่างๆ ป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล เช่น Disconnext , Ghostery, DuckDuckGo , Tor

- เครื่องมือช่วยค้นหาแบบส่วนตัว จะช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลแบบไม่เปิดเผยตัวตน เช่น Startpage, Disconnext Search, DuckDuckGo , Qwant

5.2 การมีปฏิสัมพันธ์และการสร้างความร่วมมือ (Interaction and Collaboration)

- การสื่อสารระหว่างบุคคล โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ใช้โทรศัพท์ พิมพ์ข้อความ คอล หรือวีดีโอคอล

- การสื่อสารระหว่างกลุ่มคน เฉพาะกลุ่มแบบไม่เป็นสาธารณะ เป็นการตั้งกลุ่มเพื่อการสื่อสารในลักษณะกลุ่มปิด เช่น กลุ่มเฟสบุค และกลุ่มสนทนาในโซเชียลมีเดียต่างๆ

- การสื่อสารระหว่างกลุ่มคนแบบเป็นสาธารณะ เช่น กลุ่มไลน์แบบเปิด กลุ่มเฟสบุคแบบสาธารณะ การโพสต์บนเฟสบุคแล้วตั้งค่าเป็นสาธารณะ เป็นต้น

 

.................

ข้อมูลจากบทเรียนออนไลน์ ของสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA)

หัวข้อ Digital Literacy : ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence)

บรรยายโดย อาจารย์สุมนฒ์ จิรพัฒนพร

หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์


เขียนโดย : น.ส.พุทธพร  ผ่องกาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : puttaporn.p@mhesi.go.th

ยอดเยี่ยมมากครับ เรื่องดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญมากในยุคปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จำเป็นที่เราต้องรับรู้ เท่าทันทั้งข้อดี และข้อเสีย 

เขียนโดย นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ