เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
เครื่องปอกเปลือกกระเทียม
ชม 10,268 ครั้ง
58
เจ้าของ
ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร
เมล์
tistr@tistr.or.th
รายละเอียด
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ เครื่องปอกเปลือกกระเทียม ระบุมีประสิทธิภาพการทำงานดีเยี่ยม..ปอกเปลือกกระเทียมได้มากกว่า 90 % สามารถแยกเปลือกกระเทียมและเนื้อกระเทียมออกจากกันได้อย่างสมบูรณ์ ช่วยลดระยะเวลาการผลิต ได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาด ถูกสุขอนามัย สนองตอบความต้องการผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย
รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. ชี้แจงว่า ขณะนี้ วว. โดยฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร ประสบความสำเร็จในการออกแบบ เครื่องปอกเปลือกกระเทียม ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่พัฒนาโดยทีมนักวิจัยของ วว. เครื่องดังกล่าวมีประสิทธิภาพการทำงานดีเยี่ยม ช่วยลดระยะเวลาการผลิต ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น และได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาด ถูกสุขอนามัย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้งานในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนองตอบต่อความต้องการอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้กระเทียมเป็นวัตถุดิบในการผลิต อาทิ อุตสาหกรรมเครื่องเทศ เครื่องปรุงรส อุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อุตสาหกรรมยา เป็นต้น
...ผลจากการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องฯ พบว่า สามารถปอกกระเทียมได้ดีทุกขนาด ทั้งกระเทียมไทยหรือกระเทียมจีน กำลังการผลิต 20 กิโลกรัม/ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการปอกเปลือกกระเทียมสูงมากกว่า 90 % โดยไม่มีการช้ำ แตก หัก เสียหายของเนื้อกระเทียม สามารถแยกเปลือกกระเทียมและเนื้อกระเทียมออกจากกันได้อย่างสมบูรณ์ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยสนองตอบต่อความต้องการและการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี... รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. กล่าวเพิ่มเติม
นายสัมพันธ์ ศรีสุริยวงษ์ นักวิชาการประจำฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร ชี้แจงเพิ่มเติม ว่า หลักการทำงานเครื่องปอกเปลือกกระเทียม วว. อาศัยแรงลมแบบกระแสลมแปรปรวน ทำให้เกิดการขัดสีกันระหว่างกลีบกระเทียมกับกลีบกระเทียม รวมทั้งกลีบกระเทียมกับผนังด้านใน โดยนำกระเทียมแบบกลีบใส่ลงในช่องอบลมร้อนทางด้านบนของเครื่อง ซึ่งผู้ใช้สามารถบรรจุกระเทียมได้มากที่สุด ครั้งละ 10 กิโลกรัม ภายในชุดอบลมร้อนนี้จะมีตัวกระจายลมร้อนเพื่อเป่าลมร้อนให้เปลือกกระเทียมแห้งและง่ายต่อการขัดสี
เครื่องฯ ควบคุมด้วยระบบนิวแมติกแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ ที่สามารถปรับตั้งเวลาและอุณหภูมิในการปอกได้ เมื่อครบเวลาที่ตั้งอบไว้ กระเทียมจะถูกปล่อยลงมายังชุดขัดสีซึ่งอยู่ด้านล่างของเครื่อง ภายในชุดปอกเปลือกจะมีการขัดสีกันเองโดยอาศัยแรงลมช่วยในการขัดสีให้เปลือกกระเทียมร่อนออกจากเนื้อกระเทียม โดยเปลือกกระเทียมจะถูกเป่าขึ้นไปเก็บยังชุดรับเปลือกกระเทียม ส่วนกระเทียมที่ปอกเปลือกแล้วจะตกลงมายังถาดรับด้านล่างสุดของเครื่องซึ่งเครื่องดังกล่าวสามารถปอกเปลือกกระเทียมได้ทุกขนาด และกระเทียมไม่ช้ำเสียหาย
...จุดเด่นของเครื่องฯ มี 2 ระบบ ได้แก่ ชุดอบลมร้อน ที่จะทำหน้าที่ส่งผ่านลมร้อน ภายในจะมีอุปกรณ์สำหรับกระจายลมร้อนไปตามรูเล็กๆที่เจาะไว้รอบ ๆ เพื่อ preheat ให้เปลือกกระเทียมแห้งและง่ายต่อการปอกเปลือก ซึ่งสามารถปรับระดับขึ้น-ลงได้ตามขนาดของกลีบกระเทียม โดยการหมุนปรับน็อตด้านบน ส่วนอีกระบบหนึ่ง คือ ชุดปอกเปลือกอาศัยแรงลม ซึ่งได้ออกแบบโดยการต่อท่อลมเข้าทางด้านข้าง เพื่อให้เกิดกระแสลมแปรปรวน ทำให้ทิศทางและแรงลมที่เกิดภายในมีลักษณะการเคลื่อนที่แบบปั่นป่วน ซึ่งส่งผลให้กลีบกระเทียมภายในเกิดการขัดสีกันระหว่างกลีบกระเทียมกับกลีบกระเทียม และขัดสีกันระหว่างผนังด้านในกับกลีบกระเทียม
อนึ่งเครื่องปอกเปลือกกระเทียม วว. เป็นนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติและโล่เกียรติคุณ จากการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2551 ซึ่งจัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ร่วมกับมูลนิธิธนาคารกรุงเทพฯ อีกทั้ง วว.ยังได้จดสิทธิบัตรนวัตกรรมดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โทร. 0 2577 9133 โทรสาร 0 2577 9009
http://www.tistr.or.th
รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. ชี้แจงว่า ขณะนี้ วว. โดยฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร ประสบความสำเร็จในการออกแบบ เครื่องปอกเปลือกกระเทียม ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่พัฒนาโดยทีมนักวิจัยของ วว. เครื่องดังกล่าวมีประสิทธิภาพการทำงานดีเยี่ยม ช่วยลดระยะเวลาการผลิต ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น และได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาด ถูกสุขอนามัย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้งานในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนองตอบต่อความต้องการอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้กระเทียมเป็นวัตถุดิบในการผลิต อาทิ อุตสาหกรรมเครื่องเทศ เครื่องปรุงรส อุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อุตสาหกรรมยา เป็นต้น
...ผลจากการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องฯ พบว่า สามารถปอกกระเทียมได้ดีทุกขนาด ทั้งกระเทียมไทยหรือกระเทียมจีน กำลังการผลิต 20 กิโลกรัม/ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการปอกเปลือกกระเทียมสูงมากกว่า 90 % โดยไม่มีการช้ำ แตก หัก เสียหายของเนื้อกระเทียม สามารถแยกเปลือกกระเทียมและเนื้อกระเทียมออกจากกันได้อย่างสมบูรณ์ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยสนองตอบต่อความต้องการและการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี... รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. กล่าวเพิ่มเติม
นายสัมพันธ์ ศรีสุริยวงษ์ นักวิชาการประจำฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร ชี้แจงเพิ่มเติม ว่า หลักการทำงานเครื่องปอกเปลือกกระเทียม วว. อาศัยแรงลมแบบกระแสลมแปรปรวน ทำให้เกิดการขัดสีกันระหว่างกลีบกระเทียมกับกลีบกระเทียม รวมทั้งกลีบกระเทียมกับผนังด้านใน โดยนำกระเทียมแบบกลีบใส่ลงในช่องอบลมร้อนทางด้านบนของเครื่อง ซึ่งผู้ใช้สามารถบรรจุกระเทียมได้มากที่สุด ครั้งละ 10 กิโลกรัม ภายในชุดอบลมร้อนนี้จะมีตัวกระจายลมร้อนเพื่อเป่าลมร้อนให้เปลือกกระเทียมแห้งและง่ายต่อการขัดสี
เครื่องฯ ควบคุมด้วยระบบนิวแมติกแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ ที่สามารถปรับตั้งเวลาและอุณหภูมิในการปอกได้ เมื่อครบเวลาที่ตั้งอบไว้ กระเทียมจะถูกปล่อยลงมายังชุดขัดสีซึ่งอยู่ด้านล่างของเครื่อง ภายในชุดปอกเปลือกจะมีการขัดสีกันเองโดยอาศัยแรงลมช่วยในการขัดสีให้เปลือกกระเทียมร่อนออกจากเนื้อกระเทียม โดยเปลือกกระเทียมจะถูกเป่าขึ้นไปเก็บยังชุดรับเปลือกกระเทียม ส่วนกระเทียมที่ปอกเปลือกแล้วจะตกลงมายังถาดรับด้านล่างสุดของเครื่องซึ่งเครื่องดังกล่าวสามารถปอกเปลือกกระเทียมได้ทุกขนาด และกระเทียมไม่ช้ำเสียหาย
...จุดเด่นของเครื่องฯ มี 2 ระบบ ได้แก่ ชุดอบลมร้อน ที่จะทำหน้าที่ส่งผ่านลมร้อน ภายในจะมีอุปกรณ์สำหรับกระจายลมร้อนไปตามรูเล็กๆที่เจาะไว้รอบ ๆ เพื่อ preheat ให้เปลือกกระเทียมแห้งและง่ายต่อการปอกเปลือก ซึ่งสามารถปรับระดับขึ้น-ลงได้ตามขนาดของกลีบกระเทียม โดยการหมุนปรับน็อตด้านบน ส่วนอีกระบบหนึ่ง คือ ชุดปอกเปลือกอาศัยแรงลม ซึ่งได้ออกแบบโดยการต่อท่อลมเข้าทางด้านข้าง เพื่อให้เกิดกระแสลมแปรปรวน ทำให้ทิศทางและแรงลมที่เกิดภายในมีลักษณะการเคลื่อนที่แบบปั่นป่วน ซึ่งส่งผลให้กลีบกระเทียมภายในเกิดการขัดสีกันระหว่างกลีบกระเทียมกับกลีบกระเทียม และขัดสีกันระหว่างผนังด้านในกับกลีบกระเทียม
อนึ่งเครื่องปอกเปลือกกระเทียม วว. เป็นนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติและโล่เกียรติคุณ จากการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2551 ซึ่งจัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ร่วมกับมูลนิธิธนาคารกรุงเทพฯ อีกทั้ง วว.ยังได้จดสิทธิบัตรนวัตกรรมดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โทร. 0 2577 9133 โทรสาร 0 2577 9009
http://www.tistr.or.th
คำสำคัญ
บันทึกโดย