เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ในการอบข้าวตัง
ชม 3,743 ครั้ง
61
เจ้าของ
ผศ.มลิวรรณ์ กิจชัยเจริญ และคณะ
เมล์
maliwankit:@hotmail.com
รายละเอียด
ข้าวตังข้าวกล้องงอกและข้าวแต๋นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มสามารถผลิตได้เป็นอย่างดี มีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมของผู้ซื้อ แต่มีปัญหาด้านการผลิตคือการผลิตข้าวตังและข้าวแต๋น ต้องใช้แสงจากดวงอาทิตย์ในการตากแห้ง และจะเกิดปัญหาในช่วงการตากในฤดูฝนที่มีแดดไม่เต็มที่หรือในฤดูหนาวซึ่งมีแดดไม่จัด และยังมีปัญหาเรื่องฝุ่นผง แมลงเมื่อมีการตากการแจ้ง คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ มลิวรรณ์ กิจชัยเจริญ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ประกิต ทิมขํา ได้นําตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ที่พัฒนามาจากงานวิจัย
ตู้อบพริกพลังงานแสงอาทิตย์แบบพาราโบลา ของอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน โดยส่วนที่มีการพัฒนาปรับปรุงได้แก่
1. วัสดุที่ใช้ทําตู้ เปลี่ยนจากที่ใช้ไม้อัดบางส่วน เป็นโพลีคาร์บอเนตซึ่งทําให้รับแสงได้อย่างเต็มที่และทนต่อแดดและฝน
2. วัสดุที่ใช้ทําถาดรองตาก เปลี่ยนจากไม้ไผ่สาน เป็นตาข่ายละเอียดอย่างดี และโครงถาดเป็นอลูมิเนียม
3. พัดลมดูดอากาศ เปลี่ยนจากมอเตอร์พัดลมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและดูดอากาศออกทางด้านล่าง เป็นพัดลมขนาดเล็กสองตัว ติดด้านข้างส่วนบนสองด้านของตู้ตาก และใช้พลังงานจากโซลาร์เซล
จากผลการใช้ตู้ตากพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวในการอบข้าวตังของกลุ่มฯ ทําให้เกิดผลดีคือ ลดระยะเวลาการตากแห้งจากเดิม 2 วัน เป็นใช้เวลาเพียง 1 วัน หรือลดเวลาตากแห้งลง 50% ทั้งนี้เนื่องจากอุณหภูมิภายในตู้อบจะสูงประมาณ 60 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิในการตากแห้งปกติ ประกอบกับพัดลมดูดอากาศที่ใช้ทําให้เกิดการระบายไอน้ําที่เกิดจากการระเหยของน้ําได้ดี นอกจากนั้นยังทําให้เกิดสุขลักษณะที่ดีของกระบวนการผลิต และเพื่อให้เพียงพอต่อการผลิต จึงได้มอบตู้ตากพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวบ้านท่าวังผา หมู่
2 ไว้ใช้งานจํานวน 3 ตู้
ตู้อบพริกพลังงานแสงอาทิตย์แบบพาราโบลา ของอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน โดยส่วนที่มีการพัฒนาปรับปรุงได้แก่
1. วัสดุที่ใช้ทําตู้ เปลี่ยนจากที่ใช้ไม้อัดบางส่วน เป็นโพลีคาร์บอเนตซึ่งทําให้รับแสงได้อย่างเต็มที่และทนต่อแดดและฝน
2. วัสดุที่ใช้ทําถาดรองตาก เปลี่ยนจากไม้ไผ่สาน เป็นตาข่ายละเอียดอย่างดี และโครงถาดเป็นอลูมิเนียม
3. พัดลมดูดอากาศ เปลี่ยนจากมอเตอร์พัดลมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและดูดอากาศออกทางด้านล่าง เป็นพัดลมขนาดเล็กสองตัว ติดด้านข้างส่วนบนสองด้านของตู้ตาก และใช้พลังงานจากโซลาร์เซล
จากผลการใช้ตู้ตากพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวในการอบข้าวตังของกลุ่มฯ ทําให้เกิดผลดีคือ ลดระยะเวลาการตากแห้งจากเดิม 2 วัน เป็นใช้เวลาเพียง 1 วัน หรือลดเวลาตากแห้งลง 50% ทั้งนี้เนื่องจากอุณหภูมิภายในตู้อบจะสูงประมาณ 60 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิในการตากแห้งปกติ ประกอบกับพัดลมดูดอากาศที่ใช้ทําให้เกิดการระบายไอน้ําที่เกิดจากการระเหยของน้ําได้ดี นอกจากนั้นยังทําให้เกิดสุขลักษณะที่ดีของกระบวนการผลิต และเพื่อให้เพียงพอต่อการผลิต จึงได้มอบตู้ตากพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวบ้านท่าวังผา หมู่
2 ไว้ใช้งานจํานวน 3 ตู้
คำสำคัญ
บันทึกโดย
