ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ แบบปลอดภัย และแบบเคมี ของเกษตรกรบ้านหนองโสกดาว ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี  361

คำสำคัญ : ปัจจัย  ผลต่อการตัดสินใจ  ปลูกข้าวแบบอินทรีย์  แบบปลอดภัย  แบบเคมี  บ้านหนองโสกดาว  ตำบลโนนสูง  

เนื้อหาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ แบบปลอดภัย และแบบเคมี ของเกษตรกรบ้านหนองโสกดาว ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

FACTORS INFLUENCING ON DECISION MAKING OF ORGANIC, GOOD AGRICULTURAL PRACTICE OR CHEMICAL RICE CULTIVATION FOR FARMERS IN BAN NONG-SOK-DAO SUBDISTRICT, NUNSUNG DISTRICT, UDON THANI PROVINCE

 

อรุณศักดิ์ ไชยอุบล1* อรรถศาสตร์ วิเศียรศาสตร์2และ วิบูล เป็นสุข1

Aroonsak Chaiubon1* Attasat Wiseansat2 and Viboon Pensuk3

1สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

2สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

1Program in Agricultural Resource and Environmental Management, Faculty of Graduate Studies,

Udonthani Rajabhat University

2Program in Agribusiness, Faculty of Technology, Udonthani Rajabhat University

 

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ แบบเคมี และแบบปลอดภัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวในพื้นที่บ้านหนองโสกดาว ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีจากทั้งหมด 331 ครัวเรือน มีผู้ทำการเกษตรทั้งสิ้น 180 ครัวเรือน เมื่อทำการสุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ปลูกข้าวแบบอินทรีย์ จำนวน 10 ราย แบบปลอดภัย จำนวน 21 ราย แบบเคมี 124 ราย ทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกแบบข้าวอินทรีย์มากที่สุด คือ ด้านสุขภาพ และมีปัญหาในระดับมาก คือ ปัญหาตลาด ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบ GAP มากที่สุด คือ ด้านสุขภาพ และมีปัญหาในระดับมาก คือ ปัญหาตลาด ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบเคมีในระดับมาก คือ ด้านทุน ด้านวิธีการผลิต ด้านแรงงาน และด้านตลาด โดยมีปัญหาในระดับมาก คือ ปัญหาด้านนโยบายของภาครัฐที่ไม่ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกข้าวแบบเคมี ปัญหาด้านแรงงาน และปัญหาด้านการขาดความรู้ของเกษตรกรในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์

 

คำสำคัญ:ข้าวอินทรีย์, ข้าว GAP, ข้าวเคมี

 

ABSTRACT

          This survey research aims to examine factors influencing decision making on organic rice cultivation,chemical rice cultivation, and good agricultural practice for rice. A questionnaire, as a research tool, was used in the process of data collection. The population of this study comprised 331 farmers cultivating rice in Ban Nong-sok-dao Sub-district of Nonsung District, Udon Thani Province. From a total of 331 households, there were a total of 180 agricultural farmers when sampling was divided into 3 groups: 1) 10 farmers cultivating organic rice, 2) 21 farmers did good agricultural practice for rice, and 3) 124 farmers cultivating chemical rice. To analyze data, descriptive statistics i.e. mean, percentage, and standard deviation were used.

            The findings found that: 1) the most important factor influencing the farmers’ decision making on organic rice cultivation is health condition, and their major problem found in the high level is related to marketing, 2) the most influential factor of farmers’ decision making on good agricultural practice for rice is health condition, and their serious problem indicated in a high level regards marketing, and 3)the most critical factors effecting the farmers’ decision making on chemical rice cultivation are capital, production processes, labor, and marketing; moreover, their problems shown in a high level are deficiencies in knowledge of organic rice cultivationand support from the government policy.

 

KEYWORDS: Organic rice production, Good agricultural practice for rice, Chemical rice production                      

 

 
 

 

 


*ผู้ประสานงาน: อรุณศักดิ์ ไชยอุบล

อีเมล์:chaiubon@yahoo.com

 

บทนำ

ในอดีตประเทศไทยปลูกข้าวเพื่อการดำรงชีพ ต่อมาเมื่อประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้นจึงได้มีการเพาะปลูกเพื่อการค้ามากขึ้น ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต จนสามารถส่งออกได้เป็นอันดับสามของโลก จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด 7,583,661,548 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 130,584,562,081 บาท โดยไทยส่งออกข้าวขาวดอกมะลิคุณภาพดีไปยังสหรัฐอเมริกาและฮ่องกงเป็นหลัก (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2563)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีพื้นที่การปลูกข้าวทั้งหมด 36,574,140 ไร่ ผลผลิต 12,800,343 ตันโดยมีการปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มากที่สุด มีพื้นที่ปลูก 20,541,940 ไร่ ผลผลิต 7,037,301 ตัน รองลงมาคือข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 โดยมีพื้นที่ปลูก 12,171,893 ไร่ ผลผลิต 4,314,360 ตัน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2563) มีการปลูกข้าวอินทรีย์ในหลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ  ยโสธร สุรินทร์  และมหาสารคาม ซึ่งเกษตรกรได้หันมาสนใจการผลิตเกษตรอินทรีย์มากขึ้น เนื่องจากเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ต่างหันมาสนใจในสุขภาพ (ยุพิน เถื่อนศรี และนิชภา โมราถบ, 2559) และที่สำคัญการแข่งขันในปัจจุบันต้องอาศัยมาตรฐานเป็นตัวกำหนด ซึ่งมาตรฐานมีหลายรูปแบบหลายหน่วยงาน ทั้งระดับสากล และระดับประเทศ รูปแบบเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเอง (ส่วนใหญ่เป็นการเกษตรแบบพื้นบ้าน) และเกษตรอินทรีย์ที่มีการรับรองมาตรฐานเนื่องจากการผลิตเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยกระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ เช่น สุรินทร์ และอุดรธานี

จังหวัดอุดรธานีมีพื้นที่การปลูกข้าวทั้งหมดประมาณ 1,740,138 ไร่ มีผลผลิตทั้งหมด 639,221 ตัน โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ กระจายอยู่ทั่วจังหวัด ได้แก่ อำเภอกุดจับ อำเภอหนองวัวซอ อำเภอหนองหาน และอำเภอเมือง (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2563) ซึ่งบ้านหนองโสกดาว ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการปลูกข้าวทั้งแบบเคมี อินทรีย์ และข้าว GAP ในหมู่บ้าน ในปี พ.ศ.2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีโดยศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการเป็นคณะทำงานโครงการพัฒนาการเกษตรครบวงจรในพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและหน่วยงานบูรณาการระดับจังหวัดอุดรธานี ได้รับมอบหมายหน้าที่หลักในการคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจ และพร้อมที่จะดำเนินโครงการการพัฒนาปัจจัยการผลิตให้ได้คุณภาพ เช่น การผลิตปุ๋ย การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว ได้รับสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากโครงการนาแปลงใหญ่ และสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว สายพันธุ์ กข.6และขาวดอกมะลิ 105 จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ดิน พัฒนาเทคนิคการปลูกข้าวเพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิตต่อไร่และส่งเสริมข้าวพันธุ์ใหม่ๆเช่น ข้าวเหนียว กข.6 พันธุ์ต้นเตี้ย เพื่อเป็นองค์ความรู้ต่อไปในอนาคต

แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรที่สนใจผลิตข้าวแบบอินทรีย์และแบบ GAP ยังมีจำนวนน้อย จึงทำให้เกิดประเด็นคำถามว่า ในการปลูกข้าวแบบ GAP แบบอินทรีย์ และแบบเคมี มีปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูก เป็นข้อมูลสำหรับการยกระดับการผลิตแบบเคมีไปเป็นการผลิตแบบอินทรีย์ ตลอดจนนำเสนอข้อมูลเชิงตัวเลขประกอบการตัดสินใจ เพื่อยกระดับการผลิตข้าวของเกษตรกร ให้หันมาปลูกข้าวแบบปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของชาติว่าด้วยเรื่องมาตรฐานอาหารปลอดภัย และการแข่งขันในเวทีโลกต่อไปในอนาคต

 

วิธีดำเนินการวิจัย

1.วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรที่ปลูกข้าวในฤดูกาลทำนา ปี พ.ศ.2561/2562 ในหมู่บ้านหนองงโสกดาว ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มที่ปลูกข้าวแบบอินทรีย์จำนวน 10 ราย โดยเลือกแบบวิธีเจาะจง แบบปลอดภัยจำนวน 21 ราย โดยเลือกแบบวิธีเจาะจง และแบบเคมี จำนวน 124 ราย โดยวิธีการของYamane(1973)

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

            โดยใช้แบบสอบถาม ประกอบการสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าว

 

3.การวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธี Mid-Point ในการแบ่งระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลในการตัดสินใจในการปลูกข้าว ซึ่งแปลความหมาย ได้ดังนี้

คะแนนค่าเฉลี่ย          ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจในการปลูกข้าว      

4.21 - 5.00              ความพึงพอใจมากที่สุด

3.41 - 4.20              ความพึงพอใจมาก         

2.61 – 3.40              ความพึงพอใจปานกลาง

1.81 – 2.60              ความพึงพอใจน้อย

1.00 – 1.80              ความพึงพอใจน้อยที่สุด

 

ผลการวิจัยและอภิปรายผล

  1. การปลูกข้าวแบบอินทรีย์

1.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

     ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 10 ราย เป็นเพศชาย จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 60 เพศหญิง 4 คน ร้อยละ 40 มีอายุเฉลี่ย 54 ปี ระดับการศึกษาประถม 4 คน คิดเป็นร้อยละ 40 มัธยมต้น  จำนวน 4 คนคิดเป็นร้อยละ 40 มัธยมปลาย จำนวน 1 คนคิดเป็นร้อยละ 10และ ปวส.2/อนุปริญญา จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 10 มีรายได้ในภาคการเกษตร อยู่ในช่วงระหว่าง 2,001 - 3,000 บาท จำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 10อยู่ในช่วงระหว่าง 4,001 - 5,000 บาท จำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 10อยู่ในช่วงระหว่าง 8,001 - 9,000 บาท จำนวน 5ราย คิดเป็นร้อยละ 50อยู่ในช่วงระหว่าง 9,001 - 10,000 บาท จำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 10และ10,000 บาทขึ้นไป จำนวน 2ราย คิดเป็นร้อยละ 20มีรายได้นอกภาคการเกษตร น้อยกว่า 1,000 บาท จำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 10อยู่ในช่วงระหว่าง 2,001 - 3,000 บาท จำนวน 5ราย คิดเป็นร้อยละ 50อยู่ในช่วงระหว่าง 3,001 - 4,000 บาท จำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 10อยู่ในช่วงระหว่าง 4,001 - 5,000 บาท จำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 10และ 10,000 บาทขึ้นไป จำนวน 2ราย คิดเป็นร้อยละ 20ประสบการณ์การปลูกข้าวแบบอินทรีย์ เฉลี่ย 6.3 ปี พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 14.8 ไร่ แรงงานที่ใช้ในการปลูกเฉลี่ย 2 คน ปลูกทั้งพันธุ์ กข.6 และ ขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ปลูกพันธุ์ กข.6 อย่างเดียว 1 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ปลูกพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อย่างเดียว 1 คน คิดเป็นร้อยละ 10 

            1.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ในระดับมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านสุขภาพ (4.70±0.48) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในระดับมาก คือ ปัจจัยด้านการตลาด (3.85±1.01) ปัจจัยด้านราคา (3.75±0.54) ปัจจัยด้านนโยบาย (3.70±0.67) และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (3.60±1.65)ระดับปานกลาง คือ ปัจจัยด้านทุน (3.00±0.65)และปัจจัยด้านแรงงาน (2.80±1.14) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในระดับน้อย คือ ปัจจัยด้านวิธีการผลิต (2.50±0.71) โดยมีรายละเอียดในรายข้อของแต่ละปัจจัยดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์

x̄

S.D

ระดับความสำคัญ

  1. ทุน

3

0.65

ปานกลาง

   1.1 เงินทุนในการปลูกแบบอินทรีย์

3.1

0.57

ปานกลาง

   1.2 ต้องใช้ทุนสูงในการผลิต

2.9

0.74

ปานกลาง

  1. วิธีการผลิต

2.5

0.71

น้อย

   2.1 ขั้นตอนวิธีการซับซ้อนและยากต่อการปฏิบัติ

2.5

0.71

น้อย

  1. ราคา

3.75

0.54

มาก

   3.1 ราคาจำหน่ายที่สูง

3.8

0.42

มาก

   3.2 กำไรจากการขายที่สูงกว่าข้าวแบบอื่น ๆ

3.7

0.67

มาก

  1. แรงงาน

2.8

1.14

ปานกลาง

   4.1 ขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้เรื่องข้าวอินทรีย์

2.8

1.14

ปานกลาง

  1. ตลาด

3.85

1.01

มาก

   5.1 ความต้องการของตลาด

3.9

1.10

มาก

   5.2 คู่แข่งทางการตลาด

3.8

0.92

มาก

  1. นโยบาย

3.7

0.67

มาก

   6.1 นโยบายด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกข้าวแบบอินทรีย์

3.7

0.67

มาก

   6.2 นโยบายด้านการให้ความช่วยเหลือปัจจัยด้านการผลิตแบบอินทรีย์

3.7

0.67

มาก

  1. สุขภาพ

4.7

0.48

มากที่สุด

   7.1 ความต้องการมีสุขภาพที่ดีทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

4.7

0.48

มากที่สุด

   7.2 กลัวการใช้สารเคมี และสารปราบศัตรูพืช

4.7

0.48

มากที่สุด

  1. สิ่งแวดล้อม

3.6

1.65

มาก

   8.1 ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3.6

1.65

มาก

 

2. การปลูกข้าวแบบ GAP

     2.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 21 ราย เป็นเพศชาย จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 38 เพศหญิง 13 คน คิดเป็นร้อยละ 62 มีอายุเฉลี่ย 56 ปี ระดับการศึกษาประถม 15 คน คิดเป็นร้อยละ 71 มัธยมต้นจำนวน 4 คนคิดเป็นร้อยละ 19 ปวส./อนุปริญญา จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5 และปริญญาตรี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5มีรายได้ในภาคการเกษตร น้อยกว่า 1,000 บาท จำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 5อยู่ในช่วงระหว่าง 1,001 - 2,000 บาท จำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 5อยู่ในช่วงระหว่าง 2,001 - 3,000 บาท จำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 5อยู่ในช่วงระหว่าง 3,001 - 4,000 บาท จำนวน 4ราย คิดเป็นร้อยละ 19อยู่ในช่วงระหว่าง 4,001 - 5,000 บาท จำนวน 3ราย คิดเป็นร้อยละ 14อยู่ในช่วงระหว่าง 6,001 - 7,000 บาท จำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 5อยู่ในช่วงระหว่าง 7,001 - 8,000 บาทจำนวน 6ราย คิดเป็นร้อยละ 28อยู่ในช่วงระหว่าง 8,001 - 9,000 บาทจำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 5และอยู่ในช่วงระหว่าง 9,001 - 10,000 บาท จำนวน 3ราย คิดเป็นร้อยละ 14มีรายได้นอกภาคการเกษตร น้อยกว่า 1,000 บาทจำนวน 5ราย คิดเป็นร้อยละ 24อยู่ในช่วงระหว่าง 1,001 - 2,000 บาทจำนวน 7ราย คิดเป็นร้อยละ 33อยู่ในช่วงระหว่าง 2,001 - 3,000 บาทจำนวน 7ราย คิดเป็นร้อยละ 33อยู่ในช่วงระหว่าง 4,001 - 5,000 บาทจำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 5และ 10,000 บาทขึ้นไปจำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 5ประสบการณ์การปลูกข้าวแบบGAPเฉลี่ย 4.14 ปี พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 13.13 ไร่ แรงงานที่ใช้ในการปลูกเฉลี่ย 2.76 คน ปลูกทั้งพันธุ์ กข.6 และ ขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 47.5 ปลูกพันธุ์ กข.6 อย่างเดียว 10 คน คิดเป็นร้อยละ 47.5 ปลูกพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อย่างเดียว 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5

 

          2.2ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบ GAP

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบGAP ในระดับมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านสุขภาพ (4.66±0.53) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในระดับมาก คือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (3.76±1.04) ปัจจัยด้านราคา (3.59±0.63) ปัจจัยด้านตลาด (3.52±0.95)และปัจจัยด้านนโยบาย (3.38±1.00)ส่วนปัจจัยที่มีผลในระดับปานกลาง คือ ปัจจัยด้านวิธีการผลิต (3.33±0.91)ปัจจัยด้านทุน (3.28±0.60) และปัจจัยด้านแรงาน (2.95±1.12)โดยมีรายละเอียดในรายข้อของแต่ละปัจจัยดังตารางที่ 2

 

ตารางที่ 2แสดงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบ GAP

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบ GAP

x̄

S.D.

ระดับความสำคัญ

  1. ทุน

3.28

0.60

ปานกลาง

    1.1 เกษตรกรไม่มีเงินทุนในการปลูกข้าวแบบ GAP

3.24

0.54

ปานกลาง

    1.2 ต้องใช้ทุนสูงในการผลิต

3.33

0.66

ปานกลาง

  1. วิธีการผลิต

3.33

0.91

ปานกลาง

    2.1 ขั้นตอนวิธีการซับซ้อนและยากต่อการปฏิบัติ

3.33

0.91

ปานกลาง

  1. ราคา

3.59

0.63

มาก

    3.1 ราคาจำหน่ายที่สูง

3.67

0.58

มาก

    3.2 กำไรจากการขาย

3.52

0.68

มาก

  1. แรงงาน

2.95

1.12

ปานกลาง

    4.1 ขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้เรื่องข้าวปลอดภัย

2.95

1.12

ปานกลาง

  1. ตลาด

3.52

0.95

มาก

    5.1 ความต้องการของตลาด

3.95

1.28

มาก

    5.2 คู่แข่งทางการตลาด

3.10

0.62

ปานกลาง

  1. นโยบาย

3.38

1.00

มาก

    6.1 นโยบายด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกข้าวแบบปลอดภัย

3.43

1.03

มาก

    6.2 นโยบายด้านการให้ความช่วยเหลือปัจจัยด้านการผลิต

3.33

0.97

ปานกลาง

  1. สุขภาพ

4.66

0.53

มากที่สุด

    7.1 ต้องการมีสุขภาพที่ดีทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

4.62

0.50

มากที่สุด

    7.2 กลัวการใช้สารเคมี และสารปราบศัตรูพืช

4.71

0.56

มากที่สุด

  1. สิ่งแวดล้อม

3.76

1.04

มาก

    8.1 ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3.76

1.04

มาก

         

3. การปลูกข้าวแบบเคมี

     3.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 124 ราย เป็นเพศชาย จำนวน64 ราย คิดเป็นร้อยละ 52 เพศหญิง 60 คน คิดเป็นร้อยละ 48มีอายุเฉลี่ย 53 ปีระดับการศึกษาประถม 90 คน คิดเป็นร้อยละ 73 มัธยมต้นจำนวน 16 คนคิดเป็นร้อยละ 13 มัธยมปลายจำนวน 9 คนคิดเป็นร้อยละ 7 ปวส./อนุปริญญา จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 4 ปริญญาตรี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.5และ วุฒิการศึกษาอื่นๆ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.5 มีรายได้ในภาคการเกษตร น้อยกว่า 1,000 บาท จำนวน 50ราย คิดเป็นร้อยละ 40.32 อยู่ในช่วงระหว่าง 1,001 - 2,000 บาท จำนวน 18ราย คิดเป็นร้อยละ 14.51  อยู่ในช่วงระหว่าง 2,001 - 3,000 บาท จำนวน 18ราย คิดเป็นร้อยละ 14.51อยู่ในช่วงระหว่าง 3,001 - 4,000 บาท จำนวน 6ราย คิดเป็นร้อยละ 4.83อยู่ในช่วงระหว่าง 4,001 - 5,000 บาท จำนวน 8ราย คิดเป็นร้อยละ 6.45อยู่ในช่วงระหว่าง 5,001 - 6,000 บาท จำนวน 8ราย คิดเป็นร้อยละ 6.45อยู่ในช่วงระหว่าง 6,001 - 7,000 บาทจำนวน 4ราย คิดเป็นร้อยละ 3.22 อยู่ในช่วงระหว่าง 7,001 - 8,000 บาทจำนวน 3ราย คิดเป็นร้อยละ 2.41 อยู่ในช่วงระหว่าง 8,001 - 9,000 บาท จำนวน 2ราย คิดเป็นร้อยละ 1.61อยู่ในช่วงระหว่าง 9,001 - 10,000 บาท จำนวน 4ราย คิดเป็นร้อยละ 3.22 และมากกว่า 10,000 บาท จำนวน 3ราย คิดเป็นร้อยละ 2.41มีรายได้นอกภาคการเกษตร น้อยกว่า 1,000 บาท จำนวน 54ราย คิดเป็นร้อยละ 43.54อยู่ในช่วงระหว่าง 1,001 - 2,000 บาท จำนวน 17ราย คิดเป็นร้อยละ 13.70  อยู่ในช่วงระหว่าง 2,001 - 3,000 บาท จำนวน 19ราย คิดเป็นร้อยละ 15.32อยู่ในช่วงระหว่าง 3,001 - 4,000 บาท จำนวน 7ราย คิดเป็นร้อยละ 5.64อยู่ในช่วงระหว่าง 4,001 - 5,000 บาท จำนวน 10ราย คิดเป็นร้อยละ 8.06อยู่ในช่วงระหว่าง 5,001 - 6,000 บาท จำนวน 5ราย คิดเป็นร้อยละ 4.03อยู่ในช่วงระหว่าง 6,001 - 7,000 บาทจำนวน 2ราย คิดเป็นร้อยละ 1.61อยู่ในช่วงระหว่าง 7,001 - 8,000 บาทจำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 0.80 อยู่ในช่วงระหว่าง 8,001 - 9,000 บาท จำนวน 1ราย คิดเป็นร้อยละ 0.80 อยู่ในช่วงระหว่าง 9,001 - 10,000 บาท จำนวน 4ราย คิดเป็นร้อยละ 3.22 และมากกว่า 10,000 บาท จำนวน 4ราย คิดเป็นร้อยละ 3.22ประสบการณ์การปลูกข้าวแบบเคมี เฉลี่ย 29.13 ปี พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 16.04 ไร่ แรงงานที่ใช้ในการปลูกเฉลี่ย 2.56 คนปลูกทั้งพันธุ์ กข.6 และขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 55.6 ปลูกพันธุ์ กข.6 อย่างเดียว 48 คน คิดเป็นร้อยละ 38.7 ปลูกพันธุ์เขี้ยวงูอย่างเดียว 4 คน คิดเป็นร้อยละ 3.22 และปลูกพันธุ์ กข.15อย่างเดียว 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.80  ปลูกทั้งพันธุ์ กข.6 และเขี้ยวงู จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.80 และไม่ให้ข้อมูล 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.80

          3.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบเคมี

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบเคมีในระดับมาก คือ ระดับมาก คือ ปัจจัยด้านวิธีการผลิต (4.20±0.90)ปัจจัยด้านแรงาน (3.82±1.03)ปัจจัยด้านทุน (3.72±0.86) และปัจจัยด้านตลาด (3.43±0.79)ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในระดับปานกลางคือ ปัจจัยด้านราคา (3.01±0.66) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในระดับน้อย คือ ปัจจัยด้านสุขภาพ (1.86±0.46) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในระดับน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านนโยบาย (1.62±0.77) และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (1.57±0.66) โดยมีรายละเอียดในรายข้อของแต่ละปัจจัยดังตารางที่ 3

 

ตารางที่ 3ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบเคมี

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบเคมี

x̄

S.D

ระดับความสำคัญ

  1. ทุน

3.72

0.86

มาก

   1.1 เกษตรกรไม่มีเงินทุน

3.60

0.85

มาก

   1.2 ต้องใช้ทุนสูงในการผลิต

3.85

0.87

มาก

  1. วิธีการผลิต

4.20

0.90

มาก

   2.1 ขั้นตอนวิธีการง่ายต่อการปฏิบัติ

4.08

0.88

มาก

   2.2 การกำจัดศัตรูพืชได้อย่างรวดเร็ว

4.24

0.93

มาก

   2.3 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการใช้สารเคมี

4.30

0.91

มากที่สุด

  1. ราคา

3.01

0.66

ปานกลาง

   3.1 ราคาจำหน่าย

3.10

0.56

ปานกลาง

   3.2 กำไรจากการขาย

2.92

0.76

ปานกลาง

  1. แรงงาน

3.82

1.03

มาก

   4.1 ขาดแคลนแรงงานในการผลิตข้าว

3.82

1.03

มาก

  1. ตลาด

3.43

0.79

มาก

   5.1 ความต้องการของตลาด

3.41

0.79

มาก

   5.2 คู่แข่งทางการตลาด

3.46

0.79

มาก

  1. นโยบาย

1.62

0.77

น้อยที่สุด

   6.1 นโยบายด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกข้าวแบบอินทรีย์และปลอดภัย

1.65

0.78

น้อยที่สุด

   6.2 นโยบายด้านการให้ความช่วยเหลือปัจจัยด้านการผลิตแบบอินทรีย์และปลอดภัย

1.58

0.76

น้อยที่สุด

  1. สุขภาพ

1.86

0.46

น้อย

  7.1 ต้องการมีสุขภาพที่ดีทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

1.89

0.46

น้อย

  7.2 กลัวการใช้สารปราบศัตรูพืช

1.86

0.46

น้อย

  1. สิ่งแวดล้อม

1.57

0.66

น้อยที่สุด

  8.1 ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

1.57

0.66

น้อยที่สุด

 

 

อภิปรายผล

          จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ แบบ GAP และแบบเคมีของเกษตรกรบ้านหนองโสกดาวตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีอภิปรายผลได้ดังนี้

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ในระดับมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านสุขภาพ เนื่องจากเกษตรกรกลัวว่าจะมีการเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมี ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในระดับมาก คือ ปัจจัยด้านการตลาด เนื่องจากผู้บริโภคในตลาดยังมีความต้องการข้าวอินทรีย์มากแต่มีผู้ผลิตข้าวอินทรีย์น้อยกว่าความต้องการของตลาด ปัจจัยด้านราคา เนื่องจากราคาข้าวอินทรีย์มีราคาสูงกว่าข้าวแบบปลอดภัยและแบบเคมีทำให้เกษตรกรอยากที่จะปลูกข้าวอินทรีย์เพื่อจำหน่าย ปัจจัยด้านนโยบาย เนื่องจากหน่วยงานรัฐพยายามส่งเสริมและให้การสนับสนุนในการผลิตข้าวแบบอินทรีย์ เช่น มีงบประมาณและช่วยในด้านปัจจัยการผลิตทำให้เกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกข้าวอินทรีย์ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกษตรกรเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น สัตว์น้ำในนาข้าวที่แต่เดิมเป็นอาหารของเกษตรกรลดน้อยลง และไม่กล้าที่จะนำสัตว์น้ำในนาข้าวมารับประทานเนื่องจากกลัวสารพิษ ซึ่งเมื่อเกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกข้าวแบบอินทรีย์จะช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ระดับปานกลาง คือ ปัจจัยด้านทุน เนื่องจากการปลูกข้าวแบบอินทรีย์จะช่วยลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช และปัจจัยด้านแรงงาน เนื่องจากการปลูกข้าวแบบอินทรีย์จะช่วยแรงงานในการพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในระดับน้อย คือ ปัจจัยด้านวิธีการผลิต เนื่องจากการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ต้องมีความรู้และความประณีตในการผลิต มีข้อกำหนดและมีความยุ่งยากกว่าการปลูกข้าวแบบเคมีและแบบปลอดภัยทำให้มีเกษตรกรตัดสินใจปลูกข้าวอินทรีย์น้อยราย สอดคล้องกับ เชษฐกานต์ เหล่าสุนทร(2560) ที่ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพชาวนาในการปลูกข้าวอินทรีย์ วิถีธรรมในจังหวัดเชียงราย พบว่า เหตุผลที่ชาวนาต้องการปรับเปลี่ยนจาก การทำนาเคมีเป็นอินทรีย์ คือ ดีต่อสุขภาพและช่วยลดต้นทุนการผลิต และสอดคล้องกับ ยุพิน เถื่อนศรี และนิชภา โมราถบ(2559) ซึ่งพบว่า เกษตรกรมีความสนใจเข้ามาร่วมกลุ่มเพื่อเรียนรู้กระบวนการปลูกข้าวอินทรีย์มากขึ้นและมีความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้นใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยเริ่มจากการลดการใช้สารเคมีให้มากที่สุดจนกระทั่งไม่ใช้สารเคมีเลยในทุกขั้นตอนของการผลิต เนื่องจากการไม่ใช้สารเคมีในการผลิตข้าวอินทรีย์เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมได้แก่การที่ผู้ผลิตต้องการให้ผู้บริโภครับประทานอาหารที่ดีปลอดสารพิษ และสอดคล้องกับทรรศวัฒน์ นัทธีเชาว์ และคณะ (2561) ที่พบว่า เกษตรกรตัดสินใจผลิตข้าวสังข์หยดอินทรีย์เนื่องจาก ข้าวสังข์หยดอินทรีย์มีราคาที่ดีกว่าข้าวเคมีทำให้ มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าการผลิตข้าวเคมีและผลิตทั้งเคมีอินทรีย์ รวมถึงข้าวอินทรีย์ เป็นที่ต้องการของตลาด และมีแหล่งขายได้ตลอดทั้งปี ไม่มีการกดราคาข้าว และคำนึงถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมีต่อสภาพนิเวศของท้องถิ่น และคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวและผู้บริโภค

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบGAP ในระดับมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านสุขภาพ เนื่องจากเกษตรกรตระหนักถึงสุขภาพและกลัวว่าจะมีการเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีเช่นเดียวกันกับเกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบอินทรีย์ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในระดับมาก คือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกษตรกรเริ่มตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น เมื่อใช้สารเคมีแล้วไปตกค้างในดิน ในหนองน้ำ จะเป็นอันตรายต่อคนในชุมชนหรือสัตว์เลี้ยง ปัจจัยด้านราคา เนื่องจากราคาข้าวปลอดภัยมีราคาสูงกว่าข้าวเคมี ปัจจัยด้านตลาด เนื่องจากข้าวปลอดภัยก็เป็นที่ต้องการของตลาดเช่นเดียวกับข้าวอินทรีย์ และปัจจัยด้านนโยบาย เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐส่งเสริมและสนับสนุนให้ปลูกข้าวแบบปลอดภัยซึ่งหากเกษตรกรเข้าร่วมโครงการก็จะได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆจากภาครัฐ เช่น ให้ปัจจัยการผลิต การหาช่องทางการตลาดให้ เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่มีผลในระดับปานกลาง คือ ปัจจัยด้านวิธีการผลิต เนื่องจากการปลูกข้าวแบบปลอดภัยมีข้อกำหนดในการผลิตน้อยกว่าการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ตัดสินใจปลูกแบบปลอดภัยมากกว่าแบบอินทรีย์ ปัจจัยด้านทุน เนื่องจากการปลูกข้าวแบบปลอดภัยช่วยลดต้นการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีและปัจจัยด้านแรงงาน เนื่องจากการปลูกข้าวแบบปลอดภัยช่วยลดภาระงานของแรงงานในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี สอดคล้องกับ ธงชัย เสาสามา และคณะ (2555) ที่ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม ของเกษตรกรในอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคามพบว่า ปัจจัยด้านการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมที่เกษตรกรยอมรับในระดับมาก คือ ความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภค การยอมรับของตลาด นโยบายในการผลิตข้าวหอมมะลิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนปัจจัยที่เกษตรกรยอมรับในระดับปานกลาง คือ กระบวนการผลิต

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบเคมีในระดับมาก คือ ระดับมาก คือ ปัจจัยด้านวิธีการผลิต ปัจจัยด้านแรงงาน ปัจจัยด้านทุน และปัจจัยด้านตลาด เนื่องจากกระบวนการผลิตข้าวแบบเคมีค่อนข้างง่ายและสะดวก รวดเร็วในการปลูก สามารถใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน ใช้การหว่านแทนการปักดำ ซึ่งเป็นรูปแบบการปลูกข้าวในปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันในการปลูกข้าวแบบเคมีจะเป็นการจ้างปลูกเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเกษตรกรมีทุนมากก็จะนิยมปลูกข้าวแบบเคมี ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในระดับปานกลางคือ ปัจจัยด้านราคา เนื่องจากราคาข้าวเคมีมีราคาต่ำกว่าข้าวปลอดภัยและข้าวอินทรีย์ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในระดับน้อย คือ ปัจจัยด้านสุขภาพ เนื่องจากเกษตรกรไม่ได้เป็นผู้ลงมือปลูกเองเป็นเพียงผู้จ้าง ทำให้ไม่ได้ตระหนักเรื่องสุขภาพ เพราะตนเองไม่ได้พ่นสารเคมีเอง แต่เป็นการจ้างให้คนรับจ้างพ่นสารกำจัดศัตรูพืชให้ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในระดับน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านนโยบาย เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้สนับสนุนให้ปลูกข้าวแบบเคมี และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเกษตรกรที่ปลูกแบบเคมีเห็นว่าการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชไม่ได้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากนัก สอดคล้องกับ ยิ่งลักษณ์ กาญจนฤกษ์ และUzma Aslam(2560) ที่ศึกษาการยกระดับความยั่งยืนทางการเกษตรของเกษตรรายย่อย อ.แจ้ห่ม จ.ลําปาง พบว่า เกษตรกรกว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างยังทำการเกษตรเคมีในการผลิตเพื่อจำหน่ายและบริโภคในครัวเรือน (ร้อยละ 53) เกษตรกรที่ทำเกษตรเคมีให้เหตุผลว่าการทำเกษตรอินทรีย์ต้องใช้แรงงานและความอดทน ต้องใช้ความอุตสาหะมากกว่าการทำเกษตรเคมี (ร้อยละ 53.5) และคิดว่าการทำเกษตรยั่งยืนส่งผลให้รายได้ทางการเกษตรลดลง (ร้อยละ 14.4) รวมทั้งการขาดช่องทางการตลาดเพื่อจัดจำหน่าย (ร้อยละ 7.4) ไม่มีนายหน้ามารับซื้อที่แปลง (ร้อยละ 5.4) และความยุ่งยากในการรับรองผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 4.5) ตามลำดับ ส่วนประเด็นเรื่องการขาดความรู้ขาดแหล่งข้อมูลและขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังในเชิงนโยบายไม่ใช่เหตุผลหลักในทัศนคติของเกษตรกรที่จะไม่ทําเกษตรยั่งยืน

 

สรุปผลการวิจัย

            ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกแบบข้าวอินทรีย์มากที่สุด คือ ด้านสุขภาพ และมีปัญหาในระดับมาก คือ ปัญหาตลาด ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบ GAP มากที่สุด คือ ด้านสุขภาพ และมีปัญหาในระดับมาก คือ ปัญหาตลาด ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบเคมีในระดับมาก คือ ด้านทุน ด้านวิธีการผลิต ด้านแรงงาน และด้านตลาด โดยมีปัญหาในระดับมาก คือ ปัญหาด้านนโยบายของภาครัฐที่ไม่ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกข้าวแบบเคมี ปัญหาด้านแรงงาน และปัญหาด้านการขาดความรู้ของเกษตรกรในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์

 

เอกสารอ้างอิง

เกษตรก้าวหน้า. (2559). เกษตรเคมี. ผลของการทำการเกษตรแบบใช้สารเคมีสังเคราะห์.

สืบค้นจาก (http://www.kasetkawna.com/article/103/เกษตรเคมี)

จำรัส โปร่งศิริวัฒนา. (2534). ความรู้เรื่องข้าว. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัย  

          ข้าว

จุฑามาศ คำสุนทร, พีระยศ แข็งขัน, และกิตติ ศรีสะอาด. (2560). การศึกษาปัจจัยที่เป็น  

ปัญหาและอุปสรรคต่อการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว GAP ในพื้นที่จังหวัดยโสธร. วารสารเกษตรพระวรุณ. ปีที่ 14 (ฉบับที่ 1), 82.

เชษฐกานต์ เหล่าสุนทร.(2560). แนวทางการพัฒนาศักยภาพชาวนาในการปลูกข้าวอินทรีย์     

          วิถีธรรมในจังหวัดเชียงราย.วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 2(3), 16-28.

ทรรศวัฒน์ นัทธีเชาว์, พัชราวดี ศรีบุญเรือง และสาวิตรี รังสิภัทร์. (2561). การตัดสินใจผลิต

          ข้าวสังข์หยดอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร,  

          49(2), 168-178.

ธงชัย เสาสามา, สมจิต โยธะคง และสุนันท์ สีสังข์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการ

          ผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรใน

          อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับ 

          บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2 (น.1). นนทบุรี: มหาวิทยาลัย  

          สุโขทัยธรรมาธิราช.

ธานีซิตี้. (2550). ระบบเกษตรในประเทศไทย: การเกษตรทางเลือก. ธรรมชาติและสิ่งแวด

ล้อม. สืบค้นจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/kontan/2007/09/29/

entry-1

นลินทิพย์ เพณี. (2556). มาตรฐานสินค้าเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, มกษ.9001-

2556. สืบค้นจาก http://www.acfs.go.th/ib/nalinthip_002.pdf

ประพาส วีระแพทย์. (2520). แหล่งกำเนิดของข้าว. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. (เล่มที่

3, หน้า13). โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

วิฑูรย์ ปัญญากุล, วิฑูรย์ ปัญญากุล, หยาดฝน ธัญโชติกานต์ บรรณาธิการ. 2547. เกษตร

อินทรีย์ทำอย่างไรจึงได้รับการรับรอง. เกษตรอินทรีย์มาตรฐาน.110 หน้า. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสายใยแผ่นดิน. 9749265238

ยิ่งลักษณ์ กาญจนฤกษ์ และUzma Aslam.(2560). การยกระดับความยั่งยืนทางการเกษตร

          ของเกษตรรายย่อย อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ:   

          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุพิน เถื่อนศรี และนิชภา โมราถบ. (2559). การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์

          ในจังหวัดอุตรดิตถ์: กรณีศึกษาตำบลวังกะพี้อำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์.วารสาร

          มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 5(2), 116-132.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: ถนนพหลโยธิน เขต

จตุจักร.กรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก. http://www.oae.go.th/view/1/ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร/TH-TH

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 10     

          กุมภาพันธ์ 2563 จาก www.oae.go.th/view/1/%E0%B8%AB%E0%B8%99%

          E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81/TH-TH.ห่วงโซ่การผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์.การเตรียมรับมือของชาวนา. สืบค้นจาก www.landac

tion.org/land/index.php?option=com_content&view=article&id=1744:

อรคพัฒร์ บัวลม. (25 สิงหาคม 2557). ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต. สืบค้นเมื่อ

20มกราคม 2562, จากhttps://www.slideshare.net/OptimisticDelight/7-38314911

อาณัฐ ตันโช. (ม.ป.ป.). ระบบเกษตรในประเทศไทย: การเกษตรแผนปัจจุบันหรือเกษตรเคมี.  

สืบค้นจาก http://ibc.rid.go.th. 20 มกราคม 2562.

M.Jadeyegowda*, A.G.Bandi, V.C.Reddy and K.N.Kalyanmurthy. 2019. Effect of      

          Varieties and Planting Geometry on the Yield Performance of Rice (Oryza 

           sativa L.) under Aerobic System of Cultivation (International Journal of 

           Current Microbiology and Applied Sciences ISSN: 2319-7706 Volume 8

           Number 01.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York:  

          Harper and Row Publications.

 


เขียนโดย : นายนนทวัฒน์  บัวทองหลาง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : Aeenontawat289@gmail.com