สิ่งที่ควรรู้ เกี่ยวกับการเป็นสมาชิก กบข.  64

คำสำคัญ : กบข.  

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
- เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ช้าราชการ เมื่อออกจากราชการ
- เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
- เพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก

เงินในบัญชี กบข. ประกอบด้วย 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 สมาชิกนำส่ง
---- เงินสะสม (เงินที่สมาชิกส่งสะสม เดือนละ 3 % )
---- เงินออมเพิ่ม (เงินสะสมเพิ่ม ตามความสมัครใจ 1-27%)
ส่วนที่ 2 ที่รัฐบาลนำส่ง 
----- เงินสมทบ (รัฐ นำส่งให้สมาชิก เดือนละ 3%)
----- เงินชดเชย (รัฐนำส่งให้สมาชิก เดือนละ 2%)
----- เงินประเดิม (เงินก้อนที่รัฐนำส่ง เฉพาะกลุ่มสมัครเข้า (บรรจุราชการก่อน 27 มีนาคม 2540))

เมื่อ สมาชิก กบข. เกษียณ รับเงินคืน จาก 2 ช่องทาง

1) เงินจาก กบข. (ตามเงินต้นและผลประโยชน์จากการลงทุน)
2) เงินจาก กรมบัญชีกลาง
- เงินบำเหน็จ (เงินเดือน เดือนสุดท้าย*เวลาราชการ (รวมวันทวีคุณ))
- เงินบำนาญ  (เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย *  เวลาราชการ (รวมวันทวีคุณ)) ไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

สิทธิ์การรับเงินบำเหน็จหรือบำนาญ

เมื่อออกจากราชการ
สมาชิก สามารถรับเงินคืนได้ 2 ช่องทาง ดังนี้

เลือก บำเหน็จ
1) เงินบำเหน็จรับจากกรมบัญชีกลาง
2) เงินออม รับจาก กบข. (เงินสะสม+เงินสมทบ+เงินออมเพิ่ม (ถ้ามี))

เลือก บำนาญ
1) เงินบำนาญรับจากกรมบัญชีกลาง (เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย *  เวลาราชการ (รวมวันทวีคุณ) /50)
2) เงินออม รับจาก กบข. (เงินสะสม+เงินสมทบ+เงินออมเพิ่ม (ถ้ามี) + เงินประเดิม (ถ้ามี) + เงินชดเชย)

สินทรัพย์ ที่ กบข. ลงทุน
1) ตราสารหนี้ (ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรเอกชน (หุ้นกู้) -- สินทรัพย์มั่นคง (ความเสี่ยงต่ำ มีโอกาสได้รับผลตอบแทนต่ำ)
2) ตราสารทุน (หุ้นสามัญ) -- สินทรัพย์เสี่ยง (ความเสี่ยงค่อนข้างสูง มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง)
3) สินทรัพย์ทางเลือก (อสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐาน ทองคำ) -- สินทรัพย์เสี่ยง (ความเสี่ยงสูง มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง)

ตัวช่วยทวีค่าเงิน กบข.
1) ออมเพิ่ม 
- จำนวน 1-27 % ของเงินเดือน
- เพิ่มเงินออมยามเกษียณมากขึ้น
- เพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากเงินออมที่เพิ่มขึ้น
- ลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้น

2) แผนทางเลือกการลงทุน
- มีให้เลือก 13 แผนการลงทุน ดังนี้
  1) แผนมุ่งคุ้นครองเงินต้น 1
  2) แผนเงินฝากและตราสารหนี้ระยะสั้น
  3) แผนตราสารหนี้
  4) แผนหุ้น 20 
  5) แผนหลัก
  6) แผนตราสารหนี้ต่างประเทศ
  7) แผนหุ้น 35
  8) แผนหุ้น 65
  9) แผนหุ้น 75
  10) แผนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทย
  11) แผนหุ้นต่างประเทศ
  12) แผนหุ้นไทย
  13) แผนทองคำ

ทั้งนี้ สมาชิก กบข. สามารถเข้าไปในแอพพลิเคชั่น ลองเลือก และศึกษา การลงทุน และ ลองประมาณเงิน กบข. ในวันเกษียณ ได้ที่

App : My GPF Application 
เลือกหัวข้อ
- My GPF & My GPF Twins 

----- My Twin 1 คือ ประมาณการเงิน กบข. จาก Twin ที่สมาชิกลองปรับได้ตามใจ โดยสมาชิกสามารถทดลองปรับอัตราการออมเพิ่ม และ เลือกเปลี่ยนแผนการลงทุนได้เอง
----- My Twin 2 คือ ประมาณการเงิน กบข. จาก Twin ที่ กบข. ออกแบบทางเลือกให้ ตามเป้าหมายที่สมาชิกตั้งไว้ และตามระดับความเสี่ยงจากการลงทุนของสมาชิก
------ โดยสมาชิกสามารถเปรียบเทียบประมาณการเงิน กบข. ระหว่าง ตัวคุณในปัจจุบัน กับ My Twin 1 ที่ลองปรับตามใจ กับ My Twin 2 ที่ กบข. ออกแบบทางเลือกให้

*** สมาชิก กบข. สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.gpf.or.th/ ***

อ้างอิงจาก เอกสารประกอบการบรรยาย สิทธิประโยชน์การเป็นสมาชิก กบข. / https://www.gpf.or.th/


เขียนโดย : น.ส.พรทิพย์  เพิ่มวรัญญู สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : pronthip.p@mhesi.go.th