เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
1139
ชื่อ
การผลิตไหมอีรี่ ชม 1,908 ครั้ง
เจ้าของ
นางนิตยา มหาไชยวงศ์
เมล์
faigaemmai@gmail.com
รายละเอียด

การผลิตไหมอีรี่ยังเป็นกระบวนการผลิตใหม่และเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย มีกระบวนการเลี้ยงและผลิตที่ไม่ยุ่งยากมาก เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ดักแด้ไหมที่เป็นอาหารโปรตีนสูง รังไหม/เส้นไหมที่เป็นความต้องการของตลาด และมูลของตัวไหมสามารถใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดี อีกทั้งพืชอาหารคือใบละหุ่ง ใบมันสำปะหลังก็สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น หากดำเนินการเลี้ยงและผลิตไหมอีรี่ในลักษณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเป็นการสร้างจุดขายให้กับผลิตภัณฑ์ไหมอีรี่ เป็นตลาดทางเลือกที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากตลาดทั้งในและต่างประเทศ
ศูนย์วิชาการและเทคโนโลยีสิ่งทอพื้นบ้าน(ฝ้ายแกมไหม) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มดำเนินการวิจัยเรื่องการเลี้ยงและการผลิตไหมอีรี่ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นใยธรรมชาติ ในปี 2550 ได้สร้างกระบวนการเพาะเลี้ยงไหมอีรี่ พัฒนาเครื่องมือและวิธีการผลิตเส้นใยให้ง่าย ขยายการผลิตไหมอีรี่ไปในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง ตาก นครสวรรค์ และอุทัยธานี จัดระบบการบริหารจัดการผลิตในรูปแบบ Supply Chain พัฒนาผลิตภัณฑ์ไหมอีรี่ให้เป็น Green Product ที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสู่ตลาดทางเลือก
ศูนย์วิชาการฯ ฝ้ายแกมไหมได้ร่วมกับนิคมสหกรณ์พร้าว ซึ่งมีนโยบายสนับสนุนให้สมาชิกทำการเกษตรแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ส่งเสริมการเลี้ยงไหมอีรี่ให้เป็นอาชีพเสริมอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถผสมผสานทำควบคู่ไปกับการทำเศรษฐกิจแบบพอเพียง โดยกลุ่มเลี้ยงไหมอีรี่บ้านร่มเกล้า จะสามารถเป็นต้นแบบของการเลี้ยงและผลิตไหมอีรี่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมถูกสุขลักษณะและครบวงจร มีกลุ่มเลี้ยงไหมอีรี่บ้านเขื่อนผาก และกลุ่มสตรีเกษตรพอเพียงอ่างน้ำห้วยทราย ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ร่วมพัฒนาและขยายผล จะเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงควรมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาศักยภาพการผลิตไหมอีรี่ โดยมีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนากระบวนการเลี้ยงและผลิตไหมอีรี่ให้สามารถบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตของตนเองได้ สามารถปั่นเส้นไหมและควบคุมคุณภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องให้เหมาะสมกับช่องทางการตลาดในอนาคต เพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับชุมชน

รายละเอียดการอบรมรายงานฉบับสมบูรณ์

นางนิตยา มหาไชยวงศ์ (ผู้จัดการศูนย์วิชาการฯ)/ 053942476/ 5504221/ ศูนย์วิชาการและเทคโนโลยีสิ่งทอพื้นบ้าน (ฝ้ายแกมไหม) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / cotton@ist.cmu.ac.th, faigaemmai@gmail.com

คำสำคัญ
ไหม  ผ้า  
บันทึกโดย
นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th