ก๊าซธรรมชาติผลิตเองได้ถ้ารู้วิธี  62

คำสำคัญ : ก๊าซธรรมชาติ  ผลิตแก๊สเอง  วิธีทำบ่อแก๊ส  

เนื้อหาก๊าซธรรมชาติผลิตเองได้ถ้ารู้วิธี

อรุณศักดิ์ ไชยอุบล

ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

บทนำ

พลังงานธรรมชาติที่ประชาชนระดับทั่วไป สามารถผลิตและใช้ในครัวเรือนได้ โดยไม่ผ่านกระบวนการยุ่งยากซับซ้อน ในยุคปัจจุบันเห็นจะหนีไม่พ้นพลังงานทดแทนจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งในที่นี้หมายถึงก๊าซธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการหมักจากโมเลกุลสารอินทรีย์ขนาดใหญ่ ย่อยโดยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตภายใต้สภาวะปราศจากออกซิเจนให้เป็นก๊าซ ซึ่งก๊าซที่ได้จากกระบวนการนี้ส่วนมากร้อยละ 50 – 70 จะเป็นก๊าซมีเทน(CH4) ที่มีคุณสมบัติติดไฟและให้ความร้อนได้ เฉกเช่นเดียวกับก๊าซหุงต้ม (LPG) ในครัวเรือน ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญคือ ก๊าซโพรเพนและบิวเทน สำหรับก๊าซธรรมชาติ (Natural gas) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่ง ที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ประเภทจุลินทรีย์ที่มีอายุหลายร้อยล้านปี ซึ่งสามารถแยกส่วนประกอบได้เป็น มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทนและเพนเทน เป็นต้น หรือหมายถึง ปิโตรเลียมที่มีสภาพเป็นก๊าซ ณ ที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน 15.6 องศาเซลเซียส และ 101 กิโลปาสคาล

โดยในแหล่งธรรมชาติอาจมีเฉพาะมีเทน หรือ อีเทนล้วน หรืออาจเจือปนโพรเพน และบิวเทนในบางแหล่ง ซึ่งถ้าแยกโพรเพนและบิวเทน ออกมาบรรจุลงในถังก๊าซ เรียกว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือ LPG หรือ ก๊าซหุงต้มสำหรับก๊าซธรรมชาติจะมีลักษณะ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารพิษ ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยสูงสุดชนิดหนึ่งในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อเผาไหม้แล้วจะเป็นเชื้อเพลิงสะอาด และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก ด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงนิยมใช้ก๊าซธรรมชาติ

โดยการผลิตก๊าซธรรมชาติใช้เองไม่ใช่เรื่องใหม่ อย่างที่ทราบธรรมชาติก๊าซเกิดจากการทับถมของซากอินทรียวัตถุหลายล้านปี ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จนได้ผลิตผลที่เป็นก๊าซ จากหลักการดังกล่าว เราสามารถผลิตก๊าซได้เองจากกระบวนการดังกล่าวแล้วนำก๊าซที่ได้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ จากการทำงานของผู้เขียนที่ได้คลุกคลี ติดตั้ง ตรวจสอบ แก้ปัญหา ตลอดจนพัฒนาระบบก๊าซชีวภาพในครัวเรือนมายาวนาน จะขอนำเสนอเรื่องราวของเทคโนโลยีการผลิตก๊าซธรรมชาติในครัวเรือน โดยการใช้มูลสัตว์และเศษขยะอินทรีย์ เพื่อเป็นวิทยาทานและข้อมูลสำหรับผู้ที่จะนำไปใช้และพัฒนาต่อไป

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ

     1.  ประเภทของก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซธรรมชาติสามารถแบ่งออกตามสมบัติทางเทคนิคได้ 4 ประเภท ดังนี้

1.1 Sweet gas หมายถึง ก๊าซที่มีปฏิกิริยาเป็นกลางต่อกระดาษ pH ที่เปียกน้ำ โดยมีก๊าซมีเทนเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งเป็นก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักเบาที่สุด และอาจพบ อีเทน โพรเพน และเพนเทน ปะปนอยู่บ้าง

1.2 Sour gas หมายถึง ก๊าซธรรมชาติที่มีกรดกำมะถันเจือปนอยู่สูง ทำให้เกิดสภาพที่เป็นกรดขึ้น สามารถตรวจสอบได้โดยใช้กระดาษ pH ที่เปียกน้ำ ถ้ามีก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ปะปนอยู่สูง อาจทำให้ก๊าซนั้นมีพิษได้ ดังนั้นจึงต้องกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ก่อนส่งไปยังที่อื่น

1.3 Dry gas หมายถึง ก๊าซธรรมชาติที่ไม่มีส่วนผสมของก๊าซธรรมชาติเหลว (condensate) มีแต่ก๊าซมีเทนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้มีราคาสูงกว่าก๊าซธรรมชาติชนิดอื่นๆ

1.4 Wet gas หมายถึง ก๊าซธรรมชาติที่มีส่วนประกอบหลักเป็นพวกก๊าซธรรมชาติเหลว ได้แก่ โพรเพน บิวเทน เพนเทน และเฮกเซน ก๊าซเหล่านี้จะกลายเป็นของเหลวได้ง่ายที่อุณหภูมิต่ำและความดันสูง ทำให้เกิดปัญหาในการขนส่ง

2.  การใช้ประโยชน์จากส่วนประกอบของก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซมีเทน (C1) : ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม  และเมื่อนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง  จะเรียกว่าก๊าซธรรมชาติอัด(Compressed Natural Gas; CNG) สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ รู้จักกันในชื่อว่า“ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ” (Natural Gas Vehicles; NGV) 

ก๊าซอีเทน(C2): ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น เพื่อนำไปผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ชนิดต่างๆ ก่อนนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ  ต่อไป 

ก๊าซโพรเพน (C3) :  และก๊าซบิวเทน (C4) : ก๊าซโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นได้เช่นเดียวกัน  และหากนำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนมาผสมกันตามอัตราส่วน  อัดใส่ถังเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว  (Liquidified Petroleum Gas ; LPG )  หรือที่เรียกกว่าก๊าซหุงต้ม  สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ และใช้ในการเชื่อมโลหะได้  รวมทั้งยังนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้อีกด้วย 

ไฮโดรคาร์บอนเหลว : อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ในกระบวนการผลิต สามารถแยกจากไฮโดรคาร์บอน ที่มีสถานะเป็นก๊าซที่กระบวนการบนแท่นผลิต เรียกว่า คอนเดนเสท ซึ่งสามารถลำเลียงขนส่งโดยทางเรือหรือทางท่อน้ำไปกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่อไป 

ก๊าซโซลีนธรรมชาติ : อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลว  แม้จะมีการแยกคอนเดนเสทออกในกระบวนการผลิตที่แท่นผลิตแล้ว  แต่ก็ยังมีไฮโดรคาร์บอนเหลวบางส่วนหลุดไปกับไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซ  เมื่อผ่านกระบวนการแยกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติแล้ว  ไฮโดรคาร์บอนเหลวจะถูกแยกออก  เรียกว่า ก๊าซโซลีนธรรมชาติ  ( NGL )  และส่งเข้าไปยังโรงกลั่นน้ำมัน  เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเสร็จรูปได้เช่นเดียวกับคอนเดนเสท และยังเป็นตัวทำละลาย  ซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทได้เช่นกัน 

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  :  เมื่อผ่านกระบวนการแยกแล้วจะถูกนำไปทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง เรียกว่า น้ำแข็งแห้ง นำไปใช้ในอุตสาหกรรมถนอมอาหารอุตสาหกรรมน้ำอัดลมและเบียร์ ใช้ในการถนอมอาหารระหว่างการขนส่งนำไปเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำฝนเทียม และนำไปใช้สร้างควันในอุตสาหกรรมบันเทิง อาทิ การแสดงคอนเสิร์ต หรือการถ่ายทำภาพยนตร์

จากคุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติข้างต้น นำไปสู่การวิจัยและพัฒนาหลายๆ ด้านทำให้เกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่มีทรัพยากรปิโตรเลียม ได้จับจ่ายใช้สอยอย่างไม่ขาดสาย ทำให้เกิดการแข่งขันและแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำทรัพยากรดังกล่าวจากธรรมชาติขึ้นมาใช้ให้ได้มากที่สุด ถ้าจะพูดไม่ให้เข้าข้างมนุษยชาติมากนัก เราทุกคนต่างรู้ดีว่าทรัพยากรก๊าซนั้นมีอยู่อย่างจำกัด มีวันหมดและนับวันถอยหลังที่จะหมดไปจากแหล่งขุดเจาะนั้นๆ แต่ถ้าจะเข้าข้างบ้างก็ไม่เสียหาย เพราะมนุษย์จะไม่มีวันปล่อยให้ตนเองสูญพันธุ์ไปก่อนสายพันธุ์อื่นแน่นอน ดังนั้นจากนี้เป็นต้นไปการแสวงหาพลังงานทางเลือกหรือทดแทนนั้น จะเป็นเรื่องของผู้ที่เข้าใจในเรื่องการหมดสิ้นไปของพลังงานในปัจจุบันโดยเฉพาะเรื่องของก๊าซที่กล่าวถึงในขณะนี้ และการใช้งานพลังงานอย่างมีสติเท่านั้นที่จะทำให้พลังงานเกิดความยั่งยืนและสามารถสนองตัณหาการบริโภคพลังงานของมนุษย์อย่างไม่มีวันจบสิ้นได้

ที่มา การผลิต และหลักการของก๊าซธรรมชาติจากมูลสัตว์และเศษขยะอินทรีย์

ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยได้ขยายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมทั้งภายในบริเวณฟาร์มเลี้ยงสัตว์และชุมชนใกล้เคียง เช่น ปัญหามลภาวะของกลิ่น น้ำเสีย แมลงวัน และพาหะนำโรคต่างๆ เป็นต้น โดยทั้งส่วนของมูลและปัสสาวะที่ขับถ่ายออกมา ทางฟาร์มหรือผู้ประกอบการจำเป็นต้องกำจัดทิ้งออกไป ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การกำจัดสิ่งปฏิกูล (มูลและปัสสาวะ) จากสัตว์เหล่านี้ หากใช้วิธีการที่เหมาะสมจะช่วยลดปัญหามลภาวะที่กล่าวมาข้างต้นได้อย่างดี ปัจจุบันการกำจัดมูลและปัสสาวะจากฟาร์มสัตว์ด้วยระบบก๊าซชีวภาพ ถือว่าเป็นวิธีที่เหมาะสม สามารถใช้ได้ทั้งฟาร์มขนาดใหญ่และฟาร์มรายย่อยของเกษตรกรตามชุมชนต่างๆ นอกจากนี้ภายหลังการบำบัด ยังได้ก๊าซมีเทน (Methane, CH4) เป็นผลพลอยได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานสำหรับการหุงต้ม การให้ความร้อน รวมทั้งเป็นพลังงานฉุดมอเตอร์ หรือกิจกรรมอื่นๆ ภายในครัวเรือนได้

อย่างไรก็ดี การทำบ่อก๊าชชีวภาพอย่างง่ายๆ สำหรับผู้เลี้ยงรายย่อยในชุมชน ยังไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบ ยกเว้นโครงการ “การผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อลดมลภาวะและเป็นแหล่งพลังงานทดแทนสำหรับเกษตรกรรายย่อย”โดย รศ. ดร.สุชน  ตั้งทวีทรัพย์หัวหน้าภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้คิดค้นการทำถุงหมักก๊าซชีวภาพด้วยพีวีซีที่มีราคาไม่แพงนัก โดยประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น มาเป็นอุปกรณ์สำหรับกักเก็บมูลขนาด 7 ลูกบาศก์เมตร เพื่อการหมักให้ได้ก๊าซมีเทนจำนวนวันละประมาณ 2-3 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอต่อการใช้หุงต้มแทนก๊าซ LPGได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ถัง ประมาณ 300-400บาท หรือเท่ากับปีละ 3,600-4,800 บาทต่อครัวเรือน และการให้แสงสว่างจากตะเกียงเจ้าพายุ สำหรับใช้ในครัวเรือนได้พอดี รวมทั้งยังได้นำกากที่ผ่านการย่อยสลายแล้วมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์

การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์และเศษขยะอินทรีย์สำหรับครัวเรือนในชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของงานบริการวิชาการสู่ชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 และต่อเนื่องมาถึงปี พ.ศ. 2556 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการฝึกอบรม ติดตามตรวจสอบ จนถึงการให้คำปรึกษาในทุกขั้นตอนจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่การบูรณาการด้านงบประมาณ ด้านหน่วยงานสถานที่ ตลอดจนกำลังคนในการให้การดูแล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีมีส่วนอย่างยิ่งที่ทำให้ประสบผลสำเร็จในทุกๆ ด้าน โดยมีภาพรวมของจำนวนบ่อก๊าซที่เกิดจากการบูรณาการงานบริการวิชาการโดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือฝึกอบรมทั้งที่ดำเนินการแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการดำเนินการจำนวน 112 บ่อยังใช้งานได้ จำนวน 66 บ่อ คิดเป็นมูลค่าโดยประมาณการที่สามารถช่วยลดจ่ายให้กับครัวเรือนได้ 350บาท/ครอบครัว และใช้งานไม่ได้จำนวน 46 บ่อเนื่องจาก และจากการดำเนินงานโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 – 2556 พบว่า มีเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่เป้าหมายที่อยู่ในโครงการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือได้รับความรู้เรื่องการผลิตก๊าชชีวภาพ จำนวน 286 คน ซึ่งจาการประเมินผลหลังฝึกอบรมพบว่า ผู้อบรมส่วนใหญ่ทุกแห่งมีความรู้ความเข้าใจเฉลี่ย ร้อยละ 41.98มีความพึงพอใจเฉลี่ยร้อยละ 42.76 คาดว่าจะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ 43.97 นอกจากนี้ยังมีการขยายผลโดยองค์การบริหารส่วนตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้ส่งบุคลากรมาเข้าร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2555 และนำไปขยายผล/ต่อยอดโดยจัดสรรงบประมาณของอบต.ในปีแรก มาดำเนินงานโครงการพร้อมทั้งได้รับงบสนับสนุนจากภาคเอกชน บริษัท ปตท.สผ. มอบบ่อก๊าซให้ชุมชนบ้านทับกุง ในปี พ.ศ. 2556 อีกจำนวน 70 บ่อ และในปี พ.ศ. 2557 อีก 45 บ่อในปี พ.ศ. 2558 นี้ยังได้รับการร่วมมือเป็นอย่างดีจาก องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย และเทศบาลตำบลนางัว อำเภอน้ำโสม จัดทำโครงการดังกล่าวอีกจำนวน 25 บ่อ อีกด้วย

 

ภาพที่ 1บ่อก๊าซสาธิต ตำบลดอนกลอย ปี 2557

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ขั้นตอนการผลิตบ่อก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์และเศษขยะอินทรีย์สำหรับครัวเรือน

1.  ขุดหลุมขนาดความกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 1 เมตร ก้นหลุมกว้าง 1.8 เมตร ยาว 3.7 เมตร ดังภาพ

ภาพที่ 2  แผนผังการขุดหลุดสำหรับทำบ่อหมักมูลรูปสี่เหลี่ยมคางหมู

            โดยมีพื้นที่หน้าตัดกว้างกว่าฐานของบ่อ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


เทคนิคสอดแทรกในขั้นตอนของการปฏิบัติการ

          โดยการขุดหลุมต้องคำนึงถึงปัจจัยรอบด้านหลายอย่าง เช่น 1) ชนิดของดิน ถ้าเป็นดินเหนียวที่มีหินปน ต้องระมัดระวังเรื่องหินที่จะโผล่เข้ามาในระบบ ทำให้ถุงที่มีน้ำหนักกดทับมากเป็นรูและขาดได้ ดังนั้นต้องรองหลุมด้วยพลาสติก หรือแผ่นป้ายไวนิลไม่ใช้แล้ว หรือถุงปุ๋ย หรือตามความสามารถของเจ้าของบ่อก๊าซที่จะหาได้เพื่อตัดปัญหาการทิ่มแทงของวัสดุแหลมคม

          ความกว้างยาวของหลุมที่เป็นดินเหนียวมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเกิดหรือไม่เกิดก๊าซ ความคงตัวอยู่ได้ของเนื้อก๊าซ เศษวัสดุที่อยู่ด้านใน ดังนั้นควรขุดหลุมก่อนที่จะนำถุงพลาสติกลง หากกว้างและยาวน้อยกว่าขนาดจริง จะสามารถปรับแต่งได้ อย่าลืมว่าโครงสร้างของดินถ้าเสียแล้วนำกลับคืนใหม่ได้ลำบากกว่าการที่ค่อยๆ แต่งออกไป


         

 

 

 

 

 

 

ภาพที่ 3 ก.วางบ่อพลาสติก แล้วจึงขุดบ่อเก็บน้ำล้น

ข.หาวัสดุรองก้นหลุม

 

 

 


ในกรณีที่เป็นดินทราย ต้องคำนึงถึงฤดูฝนที่มีผลอย่างยิ่งต่อการพังทลายของหน้าดิน เพื่อเป็นการป้องกันควรสร้างบังเกอร์รอบขอบบ่อ เพื่อป้องกันการพังทลายและทำให้บ่อสวยงาม โดยบังเกอร์อาจใช้ดินที่ขุดขึ้นมาบริเวณรอบๆ ขอบบ่อ ใส่ถุงและเรียงรอบบ่อ ก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง

ข.เรียง และเหยียบป้องกันการทรุดตัว

ภาพที่ 4  ก.ถุงใส่ดินบริเวณปากบ่อ ทำแนวบังเกอร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


          2) ตำแหน่งของบ่อ ซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน อย่าลืมว่าก๊าซชีวภาพที่ได้จากธรรมชาติต้องการแสงแดดและอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง จึงจะทำให้กระบวนการเกิดก๊าซได้ดี ดังนั้นตำแหน่งบ่อควรจะโดนแดดตลอดวัน ไม่ใกล้ร่มไม้และชายคา เพราะจะทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น กิ่งไม้หล่นทับ และน้ำจากหลังคาลงสู่บ่อ ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้แก้ไขโดยการตัดแต่งกิ่ง และทำรางน้ำป้องกันน้ำท่วมบ่อก๊าซ ซึ่งจะทำให้ถุงด้านข้างลอยและเสียทรง

ภาพที่ 5 ก.อยู่ใต้ชายคา ต้องทำรางรินป้องกันน้ำฝน

ข.ฤดูฝนน้ำขังต้องตักน้ำออก จึงใช้วัสดุรองพื้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


2.  เตรียมถุง LDPE (Low density polyethylene Bag) ขนาด ยาว 6 เมตร (ไม่มีรอยต่อเนื่องจากเป็นแบบสำเร็จรูป) ความหนา 0.3 มิลลิเมตร เจาะรูตรงกลางถุงเพื่อใส่วาล์วส่งก๊าซ

 

เทคนิคสอดแทรกในขั้นตอนของการปฏิบัติการ

เนื่องจากวัสดุที่ใช้เป็นพลาสติก จะมีไฟฟ้าสถิตทำให้การสอดใส่วาล์วทำได้ลำบาก เมื่อนำพลาสติกมากาง หาจุดศูนย์กลางเพื่อเจาะรูส่งก๊าซ พับถุงที่จะเจาะเป็นรูปสามเหลี่ยม สามทบแล้วตัดด้วยกรรไกร ตัดเพียงเล็กน้อย ขั้นตอนนี้อาจจะตัดหลายครั้ง เพื่อป้องกันการตัดเกินขนาด อย่าลืมว่าถ้าเกินขนาดจะไม่สามารถลดรูกลับคืนได้ ดังนั้นต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง ถุงมีแรงดึงจากไฟฟ้าสถิตมาก เมื่อเจาะรูแล้วใช้มือข้างไม่ถนัดสอดเข้าไปในถุงจนถึงรูส่งก๊าซ แล้วคงสภาพไว้ถุงจะมีช่องเมื่อดึงมือคืน นำประเกนและเกลียวในพีวีซี 4 หุนเข้าด้านใน ส่วนเกลียวนอกต่อตรงพีอี(Polyethylene)และประเกนอีกชุดอยู่ด้านนอก หมุนให้แน่นป้องกันการรั่วของถุงก๊าซบริเวณท่อส่ง จัดถุงให้อยู่ในสภาพราบเรียบดังเดิม

 

 

ภาพที่ 6 ก.ประเกนทำจากยางใน และขวดน้ำมันเครื่อง

ข. การติดตั้งประเกน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


3.  มัดหัว ท้ายถุงด้วยยางในรถมอเตอร์ไซด์ โดยสอดท่อพีวีซีขนาด 4 นิ้ว ยาว 120 เซนติเมตร เข้าไปในถุง 2/3 ส่วน ขนาดความยาวของการมัด ประมาณสองคืบฝ่ามือ

ภาพที่ 7 ก.ช่วยกันจับให้ท่อลอย เพื่อจะได้มัดให้แน่นขึ้น

ข. ต้องรัดเป็นทบๆ จะได้ไม่มีรอยรั่วซึม

 

 

 

 

 

 

 

 

 


เทคนิคสอดแทรกในขั้นตอนของการปฏิบัติการ

          การเลือกยางในที่จะมามัดต้องเลือกที่ไม่เก่าจนเกินไป ด้านในยังมีแป้งสีขาวหลงเหลืออยู่ ป้องกันการกรอบ โดยเฉพาะเวลาตัดยางในต้องตัดตามเส้นลายตามยาวของเส้นยาง ซึ่งถ้าเป็นยางในรถมอเตอร์ไซค์จะมีเส้นลายอยู่แล้ว พยายามอย่าตัดออกนอกเส้น เพราะเมื่อนำไปมัดมักจะฉีกขาดและไม่คงทน การพับพลาสติกให้ทบไปมาคล้ายผ้าสบงหรือโสร่ง ควรให้ปลายพลาสติกเสมอกันไปเรื่อยๆ ป้องกันการรั่วซึม และจะทำให้สวยงามขึ้น การพันยางในให้ทับกันไปเรื่อยๆ จนปิดส่วนของถุงพลาสติกจนหมด เพื่อมีพื้นที่ในการนำลิ่มไม้มาขัดตอนติดตั้งในหลุมก๊าซ

 

4.  ใช้เครื่องเป่าลมที่วาล์วด้านนอกเพื่อให้ถุงขยายขนาดให้เต็มที่ ปิดวาล์วแล้วเคลื่อนย้ายลงบ่อที่เตรียมไว้ หรือจะใช้ลมร้อนจากท่อไอเสียรถยนต์เพื่อขยายถุงก๊าซก็ได้

 

เทคนิคสอดแทรกในขั้นตอนของการปฏิบัติการ

          โดยการใช้ไอเสียรถยนต์ต้องระวังเรื่องของสะเก็ดไฟจากเขม่าควัน ให้ค่อยๆ เร่งเครื่อง จะได้ไม่เกิดประกายไฟจนทำให้ถุงพลาสติกรั่วได้ และที่สำคัญต้องใช้ผ้าชุบน้ำหล่อความเย็นให้ท่อพีวีซีตลอดเวลา เมื่อถุงพองเต็มที่ให้ใช้ถุงปิดปากท่อทั้งสองข้างเพื่อกันลมออก การที่เราต้องเป่าลมให้เต็มที่เพื่อจะได้ทราบว่า เวลาที่ถุงทำงานกลางแจ้ง แล้วเกิดก๊าซอย่างเต็มที่จะอยู่ในรูปร่างใด พอดีกับบ่อที่ขุดหรือไม่ ต้องแก้ไขบ่อให้เข้ากับสภาพถุงก่อนที่จะนำถุงลงบ่อ

ภาพที่ 8 เป่าลมและเคลื่อนย้ายลงบ่อ อาจทำในที่เหมาะสมก่อนย้าย หรือเป่าในบ่อก็สามารถทำได้เช่นกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 


5.  ใช้ไม้ขัดหัวท้ายของท่อป้องกันการดีดตัวเมื่อเติมน้ำ จากนั้นเทปูนทับกันไม้ดีดอีกครั้งหนึ่ง

ข. ลักษณะการวางระยะห่างของบ่อล้น

ภาพที่ 9 ก.ควรใช้ค้อนปอนด์ตอกไม้ จะได้ไม่เกิดอันตราย

 

 

 

 

 

 

 

 

 


เทคนิคสอดแทรกในขั้นตอนของการปฏิบัติการ

          ให้คำนึงเสมอว่าท่อพีวีซี 4 นิ้วจะต้องจุ่มอยู่ในน้ำที่อยู่ในถุง ความลาดชันต้องเหมาะสมสำหรับ บ่อเติม และบ่อล้น การตอกลิ่มเพื่อคัดท่อต้องระมัดระวังตำแหน่ง อย่าเข้าใกล้พลาสติกมากเกินไป จะตอกแบบทแยงหรือแนวตรงก็ได้ แต่ต้องใช้เชือกมัดให้แน่นป้องกันการดีดตัวเมื่อเติมน้ำเข้าในระบบ การที่เทปูนปิดตรงสายรัดเพื่อป้องกันการขาด และดีดตัวของยางในและท่อ กรณีเจอแรงดันก๊าซเมื่อแสงแดดจัดๆ

 

6.  นำวงบ่อซีเมนต์ ขนาด 120 เซนติเมตร จำนวน 2 วง วางตำแหน่งหัวและท้ายบ่อ เพื่อใช้เป็นบ่อเติมและบ่อล้น โดยบ่อเติมอยู่บนพื้นดิน และบ่อล้นฝังในดินเกือบท่วมวงบ่อ ใช้ปูนฉาบภายในเพี่อง่ายต่อการเติมและเก็บน้ำปุ๋ยที่ล้นออกมา

ภาพที่ 10 ก.ตำแหน่งบ่อเติมจะอยู่สูง ไม่ต้องขุด

ข. ตำแหน่งบ่อล้นต่ำ ต้องขุด

 

 

 

 

 

 

 


 

 

เทคนิคสอดแทรกในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติการ

เทคนิคในการวางวงบ่อ คือ ให้ชิดขอบให้มากที่สุด เพื่อจะได้มีพื้นที่ในการใส่มูลสัตว์และวัสดุอินทรีย์มากขึ้น ในส่วนของบ่อเติมไม่ต้องขุดฝังเนื่องจากต้องการให้สูงกว่าบ่อล้น โดยบ่อล้นให้ใช้อุปกรณ์สกัดปากวงบ่อให้เป็นรูปครึ่งวงกลม เพื่อที่จะเป็นตัวล็อกไม่ให้เลื่อน และเหมาะกับระดับการไหลของน้ำล้น

 

7.  เติมน้ำที่วาล์วส่งก๊าซด้านนอก ให้ท่วมปากท่อ 4 นิ้วด้านในถุง ทิ้งไว้ 1 วัน จึงเติมมูลสัตว์หรือเศษขยะอินทรีย์ได้ 

ข. การเติมเศษขยะอินทรีย์

ภาพที่ 11 ก.การวางบ่อและจัดการบ่อที่สวยงาม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


เทคนิคสอดแทรกในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติการ

          การเติมน้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ท่วมท่อพีวีซี 4 นิ้ว ทั้งบ่อเติมและบ่อล้นจากด้านในด้วย  เมื่อน้ำท่วมปากท่อด้านในแล้วอากาศก็ไม่สามารถออกมาได้ จะทำให้พลาสติกคงสภาพอยู่ได้ในระยะเวลา 1 – 2 วัน ข้อควรระวัง น้ำที่เติมมีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ดังนั้นขณะเติมถุงพลาสติกจะพองตัวขึ้นเรื่อยๆ ต้องมีการระบายลมเป็นระยะป้องกันถุงฉีกขาด จนกว่าน้ำจะเต็มปากท่อ

          การเติมมูลสัตว์ ให้เติมหลังจากปูนที่ฉาบด้านนอกแห้ง โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 วัน อัตราส่วนในการเติมครั้งแรกคือ มูลสัตว์ 1 – 2 ตัน(น้ำหนักเปียก) หลังจากนั้นทิ้งไว้ 21 วัน เมื่อเกิดก๊าซแล้วให้เติมวันละ 1 ถัง(18 ลิตร)

          ในส่วนของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น การจัดการกับปัญหาก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ การเพิ่มแรงดันของก๊าซ การกวนตะกอนและเร่งปฏิกิริยา ผู้เขียนจะนำเสนอต่อไปในฉบับหน้า

 

อุปกรณ์สำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ฯ

 

1.  ขวดดักก๊าซ กรณีที่ผู้ใช้ก๊าซไม่มีความจำเป็นต้องใช้ก๊าซ แต่ในกระบวนการผลิตก๊าซแล้วเติมมูลสัตว์จะมีก๊าซเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นควรจะมีขวดดักก๊าซ เพื่อช่วยระบายก๊าซและจะไม่ทำให้ถุงก๊าซฉีกขาด เตรียมโดยการใช้ขวดน้ำดื่มที่ไม่ใช้แล้ว ขนาดปากขวดเล็กกว่า 25 มิลลิเมตร เล็กน้อยประกอบกับสามทางพีอี (หรือพีวีซี) 25 มิลลิเมตร ให้ต่อท่อพีอีเล็กน้อย เพื่อให้พอดีกับความยาวขวด จากนั้นเจาะที่เติมน้ำ ให้ระดับน้ำห่างจากปากท่อประมาณ 3 เซนติเมตร ดังภาพ

ภาพที่ 12การติดตั้งระบบดักก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์

 

 

 

 

 

 

 


2. การเตรียมประเกน เพื่อใช้สำหรับป้องกันก๊าซซึมหรือรั่วบริเวณรอยต่อระหว่างถุงและท่อส่งก๊าซ วัสดุที่ใช้สามารถหาได้เอง ราคาประหยัด และยังมีความยืดหยุ่น เตรียมโดยใช้ขวดน้ำมันเครื่องเก่า ตัดเป็นรูปวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร ตรงกลางเจาะรูวงกลม ขนาดเท่ากับเกลียวนอกพีอี 25มิลลิเมตร จำนวน 2 แผ่น ตัดยางในมอเตอร์ไซค์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 12 เซนติเมตร ตรงกลางเจาะรูวงกลม ขนาดเท่ากับเกลียวนอกพีอี 25 มิลลิเมตร

 

 

 

 

 

 

 

ภาพที่ 13อุปกรณ์ประเกน

 

 

 


3. การต่อระบบจากจุกประเกนถุงแก๊ส ควรจะให้ขนานกับพื้นดิน เพื่อความสะดวกในการทำงานเมื่อเกิดปัญหารั่วซึมหรือฉีกขาดระหว่างรอยต่อ และการต่อท่อส่งแก๊สควรจะใช้ข้องอในกรณีที่การเดินทางของท่อต้องไปกับสถานที่คดโค้ง ป้องกันการบิดหรือหัก   

 

  1. สายส่งก๊าซใช้ท่อ PVC ในการติดตั้ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  1. สายส่งก๊าซใช้ท่อ PE ในการติดตั้ง และขนานไปกับพื้นดิน

 

    

 

 

ภาพที่ 14การติดตั้งระบบดักก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์

  1. สายส่งก๊าซใช้ท่อ PVC ในการติดตั้ง

 

 

 

 


           

ข้อควรคำนึงการผลิตก๊าซจากวัสดุอุปกรณ์ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จงให้ความสำคัญกับปฏิกิริยาเคมีระหว่างก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์กับน้ำและอากาศ จะทำให้เกิดเป็นกรดกัดกร่อนโลหะ ดังนั้น วัสดุต่อพ่วงควรเป็นพลาสติกเพื่อยืดอายุการใช้งาน

รายการและวัสดุอุปกรณ์ ในการผลิตบ่อก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์

วัสดุอุปกรณ์

จำนวน

ราคาประมาณ (บาท)

แหล่ง

ถุงพลาสติก LDPE

ขนาด3x6เมตร หนา 0.3 mm.

1

 

2,500

ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ท่อพีวีซี 4 นิ้ว ยาว 1.20 เมตร

2

300

ร้านค้าวัสดุทั่วไป

ท่อพีอี(PE) 10 เมตร 25 mm.

1

100

ร้านค้าวัสดุทั่วไป

ข้อต่อตรงพีอีเกลียวนอก 25 mm.

1

5

ร้านค้าวัสดุทั่วไป

วาล์วหางปลาพีอี 25 mm.

3

45

ร้านค้าวัสดุทั่วไป

สามทางพีอี 25 mm.

2

10

ร้านค้าวัสดุทั่วไป

เกลียวในตรง พีวีซี 4 หุน

2

10

ร้านค้าวัสดุทั่วไป

ขวดน้ำมันเครื่องแบบแบนเปล่า

1

-

จัดหาได้เอง

ยางในรถมอเตอร์ไซค์เก่า

5

-

จัดหาได้เอง

หัวแก๊สเก่าหรือใหม่(KB5เหมาะที่สุด)

1

750

ร้านแก๊ส

ขวดน้ำดื่ม

1

-

จัดหาได้เอง

เทปพันสายไฟสีดำ

1

35

ร้านค้าวัสดุทั่วไป

รวม

 

3,755

ถ้ามีหัวแก๊สเก่าลดตามส่วน

หมายเหตุราคาตามที่ผู้เขียนทราบ และปฏิบัติการจริง อาจเพิ่มหรือลดตามท้องตลาดและศักยภาพผู้ปฏิบัติการ

 

ประสบการณ์คำถามที่พบบ่อย จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี และใช้งานบ่อก๊าซชีวภาพ

          1.     ก๊าซจะระเบิดไหม ถ้าแตกจะเป็นยังไง?

                 ตอบ      ก๊าซที่เกิดขึ้นจากระบบนี้แรงดันจะน้อยมาก การฉีกขาดจะเกิดในกรณีที่ผู้ใช้ปิดวาล์วบริเวณท่อส่งแก๊สที่ติดกับถุง เนื่องจากก๊าซชีวภาพจะเกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้เกิดแรงดันที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ถุงฉีกขาด แต่ไม่ถึงกับเกิดเสียงดัง และเป็นอันตรายเท่าก๊าซหุงต้มในครัวเรือน ฉะนั้นผู้ใช้ต้องเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเป็นอย่างดี จะช่วยให้สามารถดูแลถุงก๊าซด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที

          2.     ถ้าเด็กมาเล่นซนบริเวณถุงก๊าซ จะทำให้แตกเป็นอันตรายไหม

                 ตอบ     การทำรั้วรอบบ่อก๊าซ อาจจะเป็นตาข่ายพลาสติก ตาข่ายลวด หรือแสลนก็ได้เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยทั้งคนและสัตว์เลี้ยง แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องทำความเข้าใจกับคนในและนอกครอบครัว เกี่ยวกับคุณลักษณะและวิธีการใช้ การป้องกันและความเสียหายใดๆ ที่จะเกิดจากการเล่นซน ซึ่งจะไม่อันตราย แต่จะทำให้พื้นที่รอบบ่อเกิดความสกปรกได้

          3.     ถ้าไม่อยู่บ้านก๊าซจะเป็นยังไง

                 ตอบ     ก๊าซจะเกิดขึ้นตลอดเวลาโดยเฉพาะเวลาที่อากาศร้อนมากๆ เพราะจุลินทรีย์ทำงานได้ดี ซึ่งถ้าปิดวาล์วไว้หมดจะทำให้ถุงฉีกขาดได้ ดังนั้นหากไม่อยู่บ้าน ต้องสังเกตน้ำในขวดดักก๊าซ ว่ามีหรือไม่ ถ้าแห้งต้องเติมให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ เนื่องจากน้ำในขวดดักก๊าซ จะเป็นตัวช่วยควบคุมแรงดันดังกล่าว โดยน้ำในขวดจะทำให้ก๊าซดันน้ำ เกิดฟองอากาศซึ่งจะช่วยเป็นการระบายแรงดันในถุง บางรายสามารถใช้น้ำมันพืชแทนน้ำได้ เนื่องจากระเหยช้าไม่ต้องกลัวหลงลืมเติมน้ำในขวดดักก๊าซ

        4.     ทำไมถุงก๊าซยุบเวลาใช้งาน

                 ตอบ      การยุบตัวของถุงก๊าซมีได้หลายกรณี แต่หลักๆคงไม่พ้นถุงรั่ว อากาศปิดเนื่องจากฝนตก เจ้าของบ่อก๊าซเติมมูลหรือเศษอาหารไม่สม่ำเสมอ แก้ไขได้โดยการเป่าลมเข้าไปให้ถุงพองเต็มที่แล้วเติมมูลสุกรประมาณ 3 กระสอบ ก็จะช่วยให้ถุงกลับมาพองตัวได้ในระดับหนึ่ง

          5.     เวลาถุงก๊าซรั่วทำอย่างไร

                 ตอบ      การตรวจสอบว่าถุงรั่วหรือไม่นั้น ทำได้โดยเป่าลมเข้าถุงให้พองเต็มที่ ใช้น้ำผสมน้ำยาล้างจานลูบให้ทั่วถุงถ้าพบจุดรั่ว ให้ใช้ผ้าแห้งเช็ดบริเวณแผลรั่ว นำเศษถุงก๊าซ (ก่อนจะมัดถุงให้ตัดไว้เล็กน้อยเพื่อไว้ปะเมื่อรั่ว) ตัดให้ใหญ่กว่าแผลเล็กน้อย ใช้กาวยางหรือที่เรียกกาวติดรองเท้า ทาทั้งชิ้นที่จะปะและถุง รอสักพักแล้วจึงปะติดกันโดยใช้เล็บขูด หากไม่ต้องการใช้กาวก็สามารถใช้วัสดุสำเร็จได้ คือ แผ่นรูฟซิล (roof seal) ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป

          6.     ทำไมเติมแล้วมูลไม่ลง

             ตอบ     เป็นคำถามที่พบบ่อยที่สุด เนื่องจากมูลสุกรที่มีแกลบเป็นส่วนผสม หรือวัสดุอย่างอื่น เช่น กากมะพร้าว กากมันสำปะหลัง หรือแม้กระทั่ง หญ้าเนเปียร์เลี้ยงสัตว์ เป็นส่วนผสม ซึ่งวัสดุเหล่านี้จะลอยอยู่ระหว่างท่อเติม ทำให้เวลาจะเติมครั้งต่อไปมูลไม่ลง วิธีแก้ไขให้ใช้ไม้พันปลายด้วยผ้าหรือขวดน้ำอัดลม แล้วดันวัสดุลงไป

          7.    ระยะเวลาและปริมาณในการเติมมูลสัตว์/ขยะอินทรีย์

                 ตอบ      ให้เติมได้หลังจากติดตั้งบ่อเสร็จ และมีการเติมน้ำจนเต็มปากท่อ 4 นิ้ว โดยควรเติมมูลสัตว์ลงไปปริมาณ 1,000 – 1,500 กิโลกรัม ทิ้งไว้ 21 วัน และเมื่อเกิดก๊าซแล้ว ให้ เติมทุกวันวันละ 1 ถังสี (18 ลิตร)

          8.     หาซื้ออุปกรณ์ได้ที่ไหน

             ตอบ     อุปกรณ์ที่หาซื้อได้ยากคงจะเป็นถุง LDPE เพราะสั่งทำเฉพาะ ดังนั้นแนะนำให้ผู้ที่สนใจติดต่อเครือข่าย รศ. ดร.สุชน  ตั้งทวีทรัพย์หัวหน้าภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หรือคลินิกเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เป็นเครือข่ายผลิตก๊าซชีวภาพ หรือที่มีข้อมูลในสื่อออนไลน์ต่างๆ ส่วนอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่างอื่นสามารถหาซื้อได้ตามร้ายขายวัสดุทั่วไป

          9.     อยากทำบ่อและถุงก๊าซ เล็กกว่านี้ได้ไหม

                 ตอบได้ แต่ปริมาณและระยะเวลาที่ได้ก๊าซมาใช้จะสั้นลง ควรผลิตใช้ตามความเหมาะสมของตนเอง

        10.  การแยกก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทำอย่างไร

    ตอบ          ในเบื้องต้นสามารถใช้ฝอยเหล็ก จากกระบวนการกลึงเหล็กในโรงกลึง ใส่ก่อนให้ก๊าซผ่านในระบบ ก็จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวได้ แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลายตัวที่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งขอกล่าวถึงในโอกาสต่อไป

        11. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดก๊าซ มีอะไรบ้าง

    ตอบ         

 

1. อุณหภูมิ :ในช่วง 4-60 ºC ขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์

2. ความเป็นกรด-ด่าง (pH) : 6.6-7.5

3. Alkalinity (ความสามารถในการรักษา pH) :ในรูปของ CaCO1,000-1,500 ml/L

4. สารอาหาร :มีสัดส่วนของ C:N = 25:1, C:P = 20:1

5. สารยับยั้งและสารพิษ เช่น แอมโมเนีย VFAs

6. ชนิดและลักษณะของสารอินทรีย์ ถ้าผ่านการย่อยมาแล้วจะเกิดก๊าซได้ง่ายเช่น มูลสัตว์

7. ชนิดและแบบของบ่อหมัก

       

สรุป

        การใช้สอยทรัพยากรก๊าซที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นต้องยอมรับว่า ประเทศใดที่มีเทคโนโลยีด้านพลังงานย่อมได้เปรียบ เพราะนับวันก๊าซธรรมชาติยิ่งจะหมดไปเร็วตามความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากประชากร และอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้อง สำหรับอนาคตอันใกล้นี้เราทุกท่านทราบดีว่า ก๊าซธรรมชาติ รูปแบบและราคาต้องขึ้นอยู่กับความเป็นจริง เราคงไม่ต้องการเห็นชาวบ้านธรรมดาที่ไม่ได้มีส่วนกำหนดราคา วิธีการแสวงหา หรือค้ากำไรจากระบบนี้ ต้องทนใช้ก๊าซหุงต้มถังละพันบาทและนับวันยิ่งจะแพงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการแสวงหาพลังงานทางเลือกเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรรู้ และทำความเข้าใจ เพราะในอนาคตพลังงานรูปแบบต่างๆอาจถึงกาลล่มสลาย ถึงเวลาหรือยังที่เราจะต้องพึ่งตนเองในการแสวงหาหนทางที่ดี และเหมาะสมในการดำเนินชีวิตให้ได้มากที่สุด อนึ่งการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เองในครัวเรือนนั้น คงไม่สามารถบังคับให้ทุกคนผลิตได้หมด แต่อย่างน้อยคาดว่าในอนาคต 30 ปีข้างหน้า บทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่มีก๊าซจะให้ซื้อใช้อีกต่อไป

 

บรรณานุกรม

        สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์. 2553.  การผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อลดมลภาวะและเป็นพลังงาน สำหรับใช้ในครัวเรือน. พิมพ์ครั้งที่ 6. ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด. เชียงใหม่.  

        ปตท.จำกัด (มหาชน) และวิชาการ.คอม. 2555.ชุดความรู้เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ เล่มที่ 5. (ออนไลน์).สืบค้นจาก:http://www.pttplc.com/TH/Default.aspxวันที่สืบค้น15พฤษภาคม2558.

        วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. แก๊สธรรมชาติ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/แก๊สธรรมชาติ. 4 ธันวาคม 2557.วันที่สืบค้น15พฤษภาคม2558.อ้างอิง: เคมีพื้นฐานนวมินทร์ ทักษิณโรงเรียนนวมินทราชูทิศ เรียกข้อมูลล่าสุด 21 เมษายน 2555      ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน natural gas. http://energy.go.th/index.php?q=node/386. www.stkc.go.th. http://www.scan-inter.com/en/node/42

 

         


เขียนโดย : นายนนทวัฒน์  บัวทองหลาง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : Aeenontawat289@gmail.com

น่าจะมีไฟล์ pdf ให้โหลดนะครับ

เขียนโดย นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ