ข้อมูลเกษตรกรหัวใจอินทรีย์
จังหวัดแพร่


นางจันทร์ฉาย ยิ้มศรี
รหัสเกษตรกร 10400

อ่าน 44 ครั้ง
ข้าพเจ้า จันทร์ฉาย ยิ้มศรี
ขอปฏิญาณตนว่า
1.ข้าพเจ้าจะซื่อสัตย์ต่ออาชีพเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด เพื่อสุขภาวะที่ดีของตนเอง ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
2.ข้าพเจ้าเข้าร่วมทำงานกับ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแพร่ เจริญก้าวหน้าในทุกๆด้าน
3.ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามกฎระเบียบของ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแพร่ อย่างเคร่งครัด
ที่ตั้ง :
70ม.5 ตำบล บ้านกลาง  อ.สอง จังหวัด แพร่
สังกัดศูนย์/กลุ่ม ไม่สังกัดกลุ่ม
เบอร์โทร : 0826696XXX
Young Smart Farmer ไช่ ไม่ใช่
จำนวนโรงเรือนปลูกผัก 1 โรง
วันที่เป็นสมาชิก SDGsPGS : 26/08/2563

ผู้เพิ่มข้อมูล เบญจพร เลิศจันตรานนท์

ข้อมูลแปลง

พื้นที่ทั้งหมด 19.00 ไร่ พื้นที่เกษตรอินทรีย์ 1 แปลง 32.00 ไร่

ชื่อแปลง : ไร่รักของพ่อ
[เปิดดู : 84 ครั้ง ]
รหัสแปลง : 8474พื้นที่ : 32 ไร่
  • ตรวจครั้งที่ 1 วันที่ตรวจ 13/10/2563
  • ผลการตรวจแปลง :
    รับรองโดยไม่มีเงื่อนไข
  • ตรวจครั้งที่ 2 วันที่ตรวจ 12/11/2564
  • ผลการตรวจแปลง :
    รับรองโดยไม่มีเงื่อนไข


    ผู้บริโภคทุกท่านเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการมีส่วนร่วม

    เชิญทุกท่านเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

    ชื่อแปลง : ไร่รักของพ่อ 84



    ภาพวาดแปลงที่ขอรับการตรวจ

    ข้อมูลการตรวจห้องปฏิบัติการ

    ไม่มีผลการตรวจห้องปฏิบัติการ

    ข้อมูลแปลง

    รายการตรวจผลการตรวจ
    ที่ตั้งละติจูด : 18.425102 ลองติจูด : 100.188279
    ประเภทกรรมสิทธิ์ ตัวเอง
    การจัดการพื้นที่ ตัวเอง
    ประเภทการขอรับรอง ผักอินทรีย์,ผลไม้อินทรีย์,ข้าวอินทรีย์,ปศุสัตว์อินทรีย์,
    ผลการตรวจสถานที่เก็บผลผลิต
    ที่เก็บอุปกรณ์
    มีที่เก็บอุปกรณ์เป็นสัดส่วนเป็นระเบียบเรียบร้อย แม้แต่รองเท้าบู๊ทยังเรียงแบบไม่สลับคู่อย่างเรียบร้อย
    ผลิตภัณฑ์ที่ขอรับรอง ส้มโอทองดี90ต้น,ส้มโอขาวแตงกวา5ต้น,ส้มโอท่าข่อย5 ต้น,มะไฟเหรียญทอง 10 ต้น, ผักกาดขาว, กะหล่ำปลี,กะหล่ำดอก, แครอท, กล้วยน้ำว้า100 ต้น,กล้วยเล็บมือนาง 50ต้น,กล้วยไข่ 20ต้น,กล้วยหอม 50ต้น,ต้นตะไคร้หอม, ส้มเช้ง 2ต้น,ปลาช่อน ,ปลาดุก ,ตะไคร้, ลำไยกะโหลก 1ต้น, ไข่ไก่, ฟักทอง, มันเทศ,กระชาย,ต้นอ่อนข้าวสาลี, แตงกวา, แตงโม, ย่านาง,มะกรูด ,มะพร้าวน้ำหอม10 ต้น, แตงไทย ,ใบบัวบก, ใบหม่อน,ใบเตย,สลัดกรีนโอ๊ก,สลัดเรดโอ๊ก, ขิง,มะม่วงเขียวเสวย,มะม่วงงาช้าง, มะม่วงฟ้าลั่น,คื่นชาย, ข่า,ข้าว กข.6,ข้าวหอมมะลิ 105,ข้าวเหนียวซิว,ข้าวจ้าวปทุมเทพ,เห็ดเยื่อไผ่,เห็ดฟาง,เห็ดตับเต่า,หน่อไม้ไผ่ซางหม่น,ไผ่รวก,
    ปัจจัยการผลิต จุลินทรีย์รากไผ่+จุลินทรีย์จาวปลวก+จุลินทรีย์รากข้าว(เบญจคุณ) 300 ก้อน,น้ำหมักรสจืด ,ขี้ไก่,ปุ๋ยหมักอาจารย์ลุง(แม่โจ้),น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อยกล้วย,น้ำหมักจุลินทรีย์ข้าวเปลือก,ยูเรียน้ำชีวภาพ,น้ำหมักมูลวัว,ฮอร์โมนไข่,ฮอร์โมนนมสด,แหนแดง,ถ่านบำรุงดิน,เชื้อไตรโดเคอร์มา,เชื้อนิวเวอร์เรีย+เมธาไรเซียม
    วันที่ทำเกษตรอินทรีย์ 10/07/2560
    ใช้สารเคมีครั้งสุดท้าย 2560
    แหล่งน้ำที่ใช้ น้ำฝน, สระน้ำในไร่, น้ำบาดาล,
    ผู้บันทึกข้อมูล   อนุรักษ์ เรืองรอบ วันที่บันทึกข้อมูล 21/09/2561

    ที่ตั้งแปลง



    รายละเอียดประวัติแปลง

      ระบบจะแสดงข้อมูลเฉพาะ 20 กิจกรรมล่าสุด
    วันที่ปฏิบัติการปฏิบัติวันที่บันทึก
    5/1/2022จ้างงานผู้ส่งอายุ 2 ราย เพาะต้นอ่อนข้าวสาลี 3กก.และตัดต้นอ่อนข้าวสาลี 3กก. ที่ปลูกเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว ตัดไม้ไผ่มาทำวงตาข่ายปุ๋ยหมักอาจารย์ลุง เดินตรวจบริเวณไร่มีท่อน้ำหลุดจากข้อต่อ เตรียมแก้ไขต่อไป5/2/2022
    4/25/2022วันนี้เข้าสวนปลูกต้นอ่อนข้าวสาลี 3 กิโล4/25/2022
    4/23/2022วันนี้ไปธุระต่างจังหวัด ฝากแม่ดูแลรดน้ำต้นอ่อนข้าวสาลีเช้าเย็นแทน กลับจากต่างจังหวัดแช่เมล็ดข้าวสาลี 3 กิโลกรัม เพื่อเตรียมเพาะวันพรุ่งนี้4/25/2022
    4/22/2022ตรวจถาดเพาะต้นอ่อนข้าวสาลี ลำต้นแข็งแรงสวยงามดี ไม่พบเชื้อรา รดน้ำเช้าและเย็น4/25/2022
    4/21/2022ตรวจถาดเพาะต้นอ่อนข้าวสาลี อายุ4วัน ลำต้นแข็งแรงสวยงามดี ไม่พบเชื้อรา รดน้ำเช้าเย็น 4/25/2022
    4/20/2022ผู้สูงอายุ 2 รายช่วยงานตัด,คั้นเพาะต้นอ่อนข้าวสาลี และแพคส่ง ลค.อำเภอเมือง, อำเภอสูงเม่น และส่งต่างจังหวัดไปกลับบริษัทอินเตอร์เอ็กซ์เพรส4/25/2022
    3/18/2022วันนี้พาแม่ไปติดตามค่ารักษาที่โรงพยาบาลแพร่ ว่าจ้างอาปรานอมและแม่พยอมตัดต้นอ่อนข้าวสาลีที่ปลูกเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 65 ที่เหลือจากเมื่อวาน แล้วเพราะต้นอ่อนข้าวสาลีชุดใหม่ 3 กิโลกรัมได้ 21 ถาด3/19/2022
    3/17/2022วันนี้ไม่ได้จ้างคนช่วยงาน เนื่องจากปริมาณงานที่ต้องทำในเวลากลางวันมีน้อย วันนี้ทำน้ำต้นอ่อนข้าวสาลีเอง ส่งลูกค้า 2 ราย แต่มีปัญหา 1 ราย เนื่องจากอยู่ในเขตอำเภอปง จังหวัดพะเยา นิ่ม express ไม่บริการนำส่งในจุดดังกล่าว วางแผนนำส่งพรุ่งนี้ที่ inter express อำเภอสูงเม่น เนื่องจากพรุ่งนี้ต้องพาคุณแม่ไปติดตามการรักษากับคุณหมอที่โรงพยาบาลแพร่พอดี - ตัดต้นอ่อนข้าวสาลีที่ปลูกเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 65 อายุ 6 วัน และคั้นเพื่อนำส่งลูกค้าที่อำเภอเมืองและอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่พรุ่งนี้ด้วย3/19/2022
    3/16/2022วันนี้ไปประชุมรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์SDGsPGS จ้างแม่พยอมและอาปรานอม ช่วยตัด,คั้นต้นอ่อนข้าวสาลีที่ปลูกเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 65 และเพาะรุ่นใหม่จำนวน 4 กิโลกรัม3/19/2022
    3/16/2022วันนี้ประชุมรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์ sdgs pgs ที่หอประชุมอาคารอเนกประสงค์โรงเรียนบ้านร่องเย็น อำเภอสองจังหวัดแพร่ ไร่รักของพ่อได้รับการรับรองเป็นแปลงเกษตรอินทรีย์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 อย่างฉลุยโดยไม่มีคณะกรรมการท่านใดคัดค้านการรับรองครั้งนี้3/18/2022
    3/16/2022วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการสร้างโรงเรือนต้นอ่อนข้าวสาลี ใช้เวลาถึงวันนี้นับเป็นเวลา 6 วัน3/18/2022
    3/13/2022แช่เมล็ดข้าวสาลีด้วยน้ำส้มควันไม้ 5 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร เพื่อป้องกันและกำจัดเชื้อรา 6 ชั่วโมง เพื่อเตรียมเพาะลงในถาดเพาะ ว่าจ้างผู้สูงอายุ 2 ราย คือแม่พยอมกับอาปรานอม ตัดต้นอ่อนข้าวสาลีที่ปลูกเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 ที่เหลือจากเมื่อวาน และให้ฝึกหัดการเตรียมถาดเพาะและการเพาะเมล็ด เนื่องจากข้าพเจ้าต้องไปเข้าประชุมกลั่นกรองแปลงเกษตรอินทรีย์ที่บุญสุดาฟาร์มอำเภอสูงเม่นจังหวัดแพร่ กลับมาตรวจสอบผลงาน ผู้สูงอายุ ทำได้เรียบร้อยดีมากเป็นที่พอใจ3/14/2022
    3/12/2022ว่าจ้างแรงงานผู้สูงอายุ 2 ท่าน ช่วยงานตัดต้นอ่อนข้าวสาลี ที่ทำการเพาะวันที่ 5 มีนาคม 2565 และคั้นส่งลูกค้า 2 ราย โดยลูกค้าจากอำเภอเมืองแพร่มารับเอง และฝากไปให้อีกราย3/14/2022
    3/11/2022รดน้ำผักสวนครัว ผักสลัด ถั่วฝักยาว และต้นมะเขือเปราะงามมาก3/12/2022
    3/11/2022เพาะต้นอ่อนข้าวสาลี 4 กิโลกรัม ลูกค้าโทรมาสั่งออเดอร์เพิ่มให้เพื่อน เนื่องจากอาการไมเกรนและอาการนอนไม่หลับ รวมถึงตื่นแล้วหลับยาก ของตนเองดีขึ้น 3/12/2022
    3/11/2022ขึ้นเสาสร้างเรือนเพาะต้นอ่อนข้าวสาลีหลังใหม่ที่บริเวณระหว่างข้างสระหัวใจกับนาแปลงที่33/12/2022
    3/6/2022สำรวจต้นอ่อนข้าวสาลี พบมีราขึ้นเล็กน้อยบางจุด ทำการแยกส่วนที่เป็นราออกจากถาด ทิ้งสำหรับทำปุ๋ยหมักต่อไป -สำรวจแปลงผัก ในนา3ถั่วฝักยาวเริ่มออกฝักยาวประมาณ 5 นิ้ว สลัดต่างๆอายุครบ 30 วัน บางต้นมี แกร็นเล็กน้อย เนื่องจาก บางวันไม่มีเวลารดน้ำ คาดว่าจะเก็บกินและแจกในอีกไม่กี่วัน มะเขือเทศออกลูกโตแล้วแต่ยังไม่สุก คะน้างามมากตัดทานได้แล้ว มะเขือเปราะต้นโตแข็งแรงดี ต้นหอม,หัวหอมและกระเทียมงามดี ชะอมออกช่อเยอะมาก หักทองออกดอกหลายดอก มันเทศกำลังงาม วันนี้แม่รดน้ำให้เช้า/เย็น3/6/2022
    3/5/2022-เพาะต้นอ่อนข้าวสาลี 4 กิโลกรัม ตามออร์เดอร์ มีลูกค้าโทรติดตามรอบต่อไปจะได้รับวันไหน ต้องการรับประทานต่อเนื่อง เนื่องจากอาการโรคกระเพาะ ปวดแสบท้องหลังทานอาหารรสจัด ดีขึ้น3/6/2022
    3/5/2022ไปติดต่อช่างหล่อเสาปูน เพื่อปลูกโรงเรือนต้นอ่อนข้าวสาลีไร่รักของพ่อหลังใหม่กำหนดปลูก 11 มีนาคม 25653/7/2022
    3/4/2022-ตัดและคั้นต้นอ่อนข้าวสาลีส่งลูกค้าเขตอำเภอเมืองและอำเภอสูงเม่น ลูกค้าอำเภอเมืองได้รับช่วงบ่าย แจ้งว่ารับประทานแล้วรสชาติอร่อย หวานดี แบ่งให้สามีรับประทานด้วย 3/6/2022

    รายละเอียดต้นทุนแปลง

      ระบบจะแสดงข้อมูลเฉพาะ 20 กิจกรรมล่าสุด
    วันที่ปฏิบัติรายละเอียดจำนวนวันที่เพิ่ม
    02/11/2563 ค่าจ้างแรงงาน รวมแรงงานตัวเอง
    ตัดหญ้าโซนสวนส้มโอ
    300 02/11/2563
    05/11/2563 ค่าจ้างแรงงาน รวมแรงงานตัวเอง
    จ้างอาเจริญ ปลูกต้นไม้และตัดต้นไม้ที่คลุมต้นส้มโอตามแนวลำเหมืองด้านทิศใต้ของสวนส้มโอ
    300 06/11/2563
    06/11/2563 ค่าจ้างแรงงาน รวมแรงงานตัวเอง
    จ้างอาเจริญ ปลูกต้นไม้และตัดต้นไม้ที่คลุมต้นส้มโอตามแนวลำเหมืองด้านทิศใต้ของสวนส้มโอ
    300 08/11/2563
    09/11/2563 ค่าเมล็ดพันธุ์ กล้าพันธุ์
    เมล็ดพันธุ์ต้นอ่อนข้าวสาลีฝาง 60 จำนวน 20 กิโลกรัมจาก i do wheet glass
    1900 09/11/2563
    13/11/2563 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เช่น ท่อ สายส่งน้ำ สปริงเกิล
    ถังพักน้ำรดต้นอ่อนข้าวสาลี 2 ถัง
    280 14/11/2563
    11/11/2563 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เช่น ท่อ สายส่งน้ำ สปริงเกิล
    บัวรดน้ำขนาดเล็ก1อัน
    25 14/11/2563
    01/08/2563 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เช่น ท่อ สายส่งน้ำ สปริงเกิล
    ถาดเพาะเมล็ด 24 อัน
    800 14/11/2563
    21/11/2563 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เช่น ท่อ สายส่งน้ำ สปริงเกิล
    ถังใส่น้ำหมัก30 ลิตร 1 ถัง, 60 ลิตร 1 ถัง
    500 22/11/2563
    22/11/2563 ค่าจ้างแรงงาน รวมแรงงานตัวเอง
    จ้างคนไปเอาไม้สักที่ตัดไว้ ไปไว้ในสวนส้มโอ เพื่อเตรียมปลูกที่พักไว้ในสวน
    900 26/11/2563
    12/03/2561 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เช่น ท่อ สายส่งน้ำ สปริงเกิล
    เครื่องคั้นน้ำผักผลไม้แยกกากเกลียวเดี่ยวแนวนอน OSCAR
    12900 26/11/2563
    18/03/2561 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เช่น ท่อ สายส่งน้ำ สปริงเกิล
    เต้นเพาะชำ
    5000 26/11/2563
    01/02/2561 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เช่น ท่อ สายส่งน้ำ สปริงเกิล
    เครื่องคั้นน้ำต้นอ่อนข้าวสาลี แบบมือหมุน
    1200 26/11/2563
    08/01/2564 ค่าจ้างแรงงาน รวมแรงงานตัวเอง
    ค่าแรงหญิง
    400 08/01/2564
    08/01/2564 ค่าเมล็ดพันธุ์ กล้าพันธุ์
    พันธุ์ฝาง60
    220 09/01/2564
    27/01/2564 ค่าเมล็ดพันธุ์ กล้าพันธุ์
    เมล็ดต้นอ่อนข้าวสาลีพันธุ์ฝาง60 30กก.
    2700 27/01/2564
    29/01/2564 ค่าจ้างแรงงาน รวมแรงงานตัวเอง
    ค่าช่างรับเหมาทำกระท่อมในสวนเมื่อสุดท้าย
    4000 31/01/2564
    31/03/2564 ค่าจ้างแรงงาน รวมแรงงานตัวเอง
    จ้างอาดุลย์ขุดร่องวางท่อสายไฟ
    300 05/04/2564
    02/04/2564 ค่าจ้างแรงงาน รวมแรงงานตัวเอง
    จ้างอาดุลย์,อาจิต ขุดร่องวางท่อสายไฟ
    600 05/04/2564
    13/10/2564 ค่าจ้างแรงงาน รวมแรงงานตัวเอง
    ตัดหญ้าโซนสวนส้มโอ
    300 14/10/2564
    12/10/2564 ค่าน้ำมันจากการใช้เครื่องจักรการเกษตร
    น้ำมันใส่เครื่องตัดหญ้า
    100 14/10/2564

    รายละเอียดการใช้ปัจจัยการผลิต

      ระบบจะแสดงข้อมูลเฉพาะ 20 กิจกรรมล่าสุด
    วันที่ปฏิบัติ | วันที่เพิ่มชื่อปัจจัยการผลิตแหล่งผลิตปริมาณที่ใช้วิธีการใช้วัตถุประสงค์ที่ใช้
    ไม่พบข้อมูล

    ประวัติการตรวจประเมินแปลง มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS

    หมายเลขตรวจ : 13963 วันที่ตรวจ : 12/11/2564 เวลา 10.00-11.00

    หัวหน้าทีมตรวจแปลง :

    พงษ์ศักดิ์ สุวรรณพงศ์

    ทีมผู้ตรวจแปลง

    ณัฐวดี ใจเหิน, พงศ์พณิช รอบเมือง, สุธาสินี ตันศิริ, อุดมเดช คณะบูรณ์,

    ผู้บันทึกข้อมูล

    พงศ์พณิช รอบเมือง

    สรุปผลการตรวจประเมินแปลง

    ข้อที่ 1 MUST – เกษตรกรต้องแจ้งพื้นที่ทำการเกษตรที่ตัวเองครอบครองให้ผู้ตรวจทราบ ไม่ว่าจะใช้ประโยชน์หรือไม่ใช้ประโยชน์/เช่า/มีหรือไม่มีโฉนดที่ดินก็ตาม
    ข้อที่ 2 MUST แปลงเกษตรทุกแปลงจะต้องทำในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนทั้งหมด ภายในระยะเวลา 3 ปี อนุญาตให้ทดลองทำบางแปลงได้ใน 3 ปีแรก
    ข้อที่ 3 RECOMMEND เกษตรกรควรวัดค่าและปรับค่า pH ของดินตามประเภทของพืชที่ต้องการปลูก ควรนำดินและน้ำไปทำการตรวจวัดธาตุอาหารในดิน หรือสารเคมีตกค้างทุกปี
    ข้อที่ 4 MUST - พืชที่ปลูกในแปลงเคมีจะต้อง “ไม่ขอรับรอง” อนุญาตให้เป็นแปลงคู่ขนานได้ แต่พืชที่ขอรับรองในแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนจะต้องไม่เหมือนกับแปลงเคมี เกษตรกรต้องจัดแยกผลผลิตจากแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนชัดเจน ทั้งระยะปรับเปลี่ยนและระยะที่ได้รับการรับรองแล้วให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มี QR code ติดกับผลผลิต
    ข้อที่ 5 MUST - คันแดนแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน จะต้องแยกจากแปลงเคมีอย่างชัดเจนอย่างน้อยระยะห่าง 3 - 5 เมตร และถ้าแปลงข้างเคียงมีความเสี่ยงการปนเปื้อนสารเคมี เกษตรกรจะต้องจัดทำแนวกันชน (ปรับคันดินและปลูกพืช) ป้องกันการปนเปื้อน ทั้งนี้ พืชตามแนวกันชนไม่ขอรับรอง
    ข้อที่ 6 MUST - ห้ามปลูกข้าวในแปลงเกษตรเกษตรกรรมยั่งยืนที่ขอรับรองมากกว่า 2 รุ่นต่อปี ควรพักดินหรือปลูกพืชเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับปรุงดิน
    ข้อที่ 7 RECOMMEND - เกษตรกรควรปลูกข้าวและพืชผักไว้กินเอง เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร และสุขภาพที่ดีของครอบครัว
    ข้อที่ 8 RECOMMEND - เกษตรกรอาจขายข้าวเปลือกที่ปลูกในแปลงนา หรือแปลงรกร้างว่างเปล่า ที่ไม่มีการใช้สารเคมีเกษตรใดๆ (โดยไม่มีความเสี่ยง) เป็นเกษตรกรรมยั่งยืน SDGsPGS ได้หลังจากผ่านการรับรองจากคณะกรรมการระดับจังหวัด ทั้ง 22 ข้อ เป็นเวลา 36 เดือน
    ข้อที่ 9 RECOMMEND - ในกรณีของผักผลไม้และสมุนไพร เกษตรกรอาจขายผลผลิตที่ปลูกในแปลงสวน หรือแปลงรกร้างว่างเปล่า ที่ไม่มีการใช้สารเคมีเกษตรใดๆ (โดยไม่มีความเสี่ยง) เป็นเกษตรเกษตรกรรมยั่งยืน SDGsPGS ได้หลังจากผ่านการรับรองจากคณะกรรมการระดับจังหวัด ทั้ง 22 ข้อ เป็นเวลา 36 เดือน
    ข้อที่ 10 RECOMMEND ปศุสัตว์ที่เลี้ยงในแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนสามารถรับรองเป็นปศุสัตว์อินทรีย์ได้หากอาหารที่เลี้ยงเป็นอาหารอินทรีย์ หากเป็นอาหารระยะปรับเปลี่ยน ให้รับรองเป็นปศุสัตว์ “อารมณ์ดี” หรือระยะปรับเปลี่ยนสู่ปศุสัตว์อินทรีย์ตามระยะเวลาปรับเปลี่ยนด้วยอาหารเป็นเวลา 36 เดือน
    ข้อที่ 11 RECOMMEND หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีการคลุกสารเคมีและไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจน เกษตรกรควรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว/ผัก/ผลไม้ไว้ใช้เอง รวมถึงทราบแหล่งที่มาชัดเจน ในกรณีที่ไม่สามารถหาเมล็ดพันธุ์ที่ไม่คลุกสารเคมีได้ และถ้าจำเป็นต้องใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีให้นำเมล็ดพันธุ์ไปล้างน้ำอุ่น น้ำหมักชีวภาพ หรือสารชีวภัณฑ์ที่ไม่ละเมิดมาตรฐาน ก่อนนำไปเพาะปลูก
    ข้อที่ 12 MUST - ห้ามเกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนเร่ง สารเคมีสังเคราะห์ ห้ามใช้ปัจจัยการผลิตหรือปุ๋ยอินทรีย์ยี่ห้อที่ไม่ทราบส่วนผสมและไม่มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รับรอง ก่อนได้รับอนุญาตจากกลุ่มและเครือข่ายในพื้นที่นั้น
    ข้อที่ 13 MUST -ห้ามเผาตอซังและอินทรียวัตถุในแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนที่ขอรับรอง
    ข้อที่ 14 MUST -ห้ามใช้ถังฉีดสารเคมีการเกษตรทั่วไปร่วมกับแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน
    ข้อที่ 15 RECOMMEND - ให้ระมัดระวัง อย่าให้สารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน มาปนเปื้อนในแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน
    ข้อที่ 16 MUST – ห้ามนำผลผลิตจากแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนไปปะปนกับผลผลิตแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนระยะปรับเปลี่ยนและแปลงเกษตรทั่วไป ต้องจัดแยกผลผลิตแต่ละสถานะออกจากกันอย่างชัดเจน (ระยะเคมีทั่วไป/ระยะปรับเปลี่ยน/ระยะเกษตรกรรมยั่งยืน) ให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
    ข้อที่ 17 MUST - เกษตรกรที่ใช้รถเกี่ยวอุ้มหรือเกี่ยวนวดจะต้องทำความสะอาดรถเกี่ยวอุ้มก่อนนาไปใช้ และแยกข้าวที่ใช้ล้างเครื่องรถเกี่ยวอุ้ม หรือเกี่ยวนวด จำนวน 3 กระสอบแรก (ข้าวล้างเครื่อง) ไม่ถือว่าเป็นข้าวเกษตรกรรมยั่งยืน
    ข้อที่ 18 MUST - ห้ามใช้กระสอบปุ๋ยเคมีและภาชนะที่อาจมีสารเคมีปนเปื้อนมาใช้เพื่อจัดเก็บและขนส่งผลผลิตเกษตรเกษตรกรรมยั่งยืน ถุงและภาชนะที่ใช้ต้องสะอาด เหมาะที่จะใช้บรรจุปัจจัยการผลิต/ขนส่งอาหาร
    ข้อที่ 19 RECOMMEND - เกษตรกรควรมีโอกาสตรวจเลือดเพื่อวัดระดับสารเคมีในร่างกายว่าอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงหรือไม่ เพื่อนำไปปรับพฤติกรรมในการผลิตและบริโภคให้สอดคล้องกับหลักความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
    ข้อที่ 20 RECOMMEND - เกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการฯ จะต้องร่วมกันพัฒนากลุ่ม ร่วมกันลงหุ้น เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มทุกครั้ง การขาดการเข้าร่วมประชุมมากกว่า 3 ครั้งเกษตรกรอาจถูกตัดสิทธิการเป็นสมาชิกของกลุ่มได้
    ข้อที่ 21 MUST – เกษตรกรต้องจัดทำบันทึกฟาร์ม บัญชีฟาร์ม สมุดเยี่ยมฟาร์ม โดยละเอียด จะต้องนำมาให้ผู้ตรวจแปลงพิจารณาว่ามีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์ในปัจจัยการผลิตและกิจกรรมที่ทำหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งในการใช้เป็นหลักฐานขอรับรองมาตรฐานระดับสากลควบคู่กันไปด้วย
    ข้อที่ 22 MUST – เกษตรกรยินยอมให้มีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดแปลงและผลการตรวจแปลงเท่าที่จำเป็น ภายในเครือข่ายฯ และคณะกรรมการรับรองระดับจังหวัดที่ขับเคลื่อนมาตรฐานเกษตรกรรมยั่งยืน SDGsPGS เท่านั้น ไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลเป็นสาธารณะและเพื่อการค้าขายข้อมูลโดยเด็ดขาด




    ภาพและวีดีโอประกอบการตรวจประเมินแปลง



    ผลการกลั่นกรองของคณะทำงานกลั่นกรองระดับจังหวัด

    ผ่านการกลั่นกรอง SDGsPGS "อินทรีย์ "
    วันที่ประชุมกลั่นกรอง 01/03/2565


    ผลการรับรองคณะกรรมการรับรองระดับจังหวัด

    ผ่านการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS "อินทรีย์"
    วันที่รับรอง 16/03/2565




    ข้อมูลแผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ ประจำปี 2567

    สนใจสินค้าสามารถโทรสั่งซื้อได้ที่ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแพร่
    ประเภทชื่อแปลงวันที่เริ่มปลูกจำนวน(กก.)
    ไม่พบข้อมูลแผนการผลิต