ข้อมูลเกษตรกรหัวใจอินทรีย์
จังหวัดชลบุรี


นายอนุรักษ์ เรืองรอบ
รหัสเกษตรกร 1546

อ่าน 110 ครั้ง
ข้าพเจ้า อนุรักษ์ เรืองรอบ
ขอปฏิญาณตนว่า
1.ข้าพเจ้าจะซื่อสัตย์ต่ออาชีพเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด เพื่อสุขภาวะที่ดีของตนเอง ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
2.ข้าพเจ้าเข้าร่วมทำงานกับ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนชลบุรี เจริญก้าวหน้าในทุกๆด้าน
3.ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามกฎระเบียบของ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนชลบุรี อย่างเคร่งครัด
ที่ตั้ง :
30/2 ม.13 ตำบล หนองรี  อ.เมืองชลบุรี จังหวัด ชลบุรี
สังกัดศูนย์/กลุ่ม ไม่สังกัดกลุ่ม
เบอร์โทร : 0832424XXX
Young Smart Farmer ไช่ ไม่ใช่
จำนวนโรงเรือนปลูกผัก 0 โรง
วันที่เป็นสมาชิก SDGsPGS : 01/01/2559

ผู้เพิ่มข้อมูล อนุรักษ์ เรืองรอบ

ข้อมูลแปลง

พื้นที่ทั้งหมด 12.00 ไร่ พื้นที่เกษตรอินทรีย์ 1 แปลง 12.00 ไร่

ชื่อแปลง : อนุรักษ์ ไร่นาสวนผสม
[เปิดดู : 57 ครั้ง ]
รหัสแปลง : 2560พื้นที่ : 12 ไร่
  • ตรวจครั้งที่ 1 วันที่ตรวจ 26/02/2563
  • ผลการตรวจแปลง :
    รับรองโดยไม่มีเงื่อนไข
  • ตรวจครั้งที่ 2 วันที่ตรวจ 01/08/2564
  • ผลการตรวจแปลง :
    รับรองโดยไม่มีเงื่อนไข
  • ตรวจครั้งที่ 3 วันที่ตรวจ 17/07/2566
  • ผลการตรวจแปลง :
    รับรองโดยไม่มีเงื่อนไข


    ผู้บริโภคทุกท่านเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการมีส่วนร่วม

    เชิญทุกท่านเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

    ชื่อแปลง : อนุรักษ์ ไร่นาสวนผสม 57



    ภาพวาดแปลงที่ขอรับการตรวจ

    ข้อมูลการตรวจห้องปฏิบัติการ

    ไม่มีผลการตรวจห้องปฏิบัติการ

    ข้อมูลแปลง

    รายการตรวจผลการตรวจ
    ที่ตั้งละติจูด : 13.3124580 ลองติจูด : 101.056101
    ประเภทกรรมสิทธิ์ ตัวเอง
    การจัดการพื้นที่ ตัวเอง
    ประเภทการขอรับรอง ผักอินทรีย์,ผลไม้อินทรีย์,ข้าวอินทรีย์,ปศุสัตว์อินทรีย์,สมุนไพรอินทรีย์,
    ผลการตรวจสถานที่เก็บผลผลิต
    ที่เก็บอุปกรณ์
    จัดเก็บข้าวสารในโรงเก็บข้าว และอุปกรณ์ทำการเกษตร มีโรงสีขนาดเล็กสีข้าวทานเองในครัวเรือน มีเครื่องย่อยสับหยวกกล้วยสำหรับทำอาหารเป็ดไก่/ใช้เป็นเครืองสับกิ่งไว้เพื่อหมักเป็นปุ๋ย มีรถไถเดินตาม กระบะเพาะกล้าสำหรับทำนาโยน เครื่องตัดหญ้า จัดเก็บเรียบร้อย
    ผลิตภัณฑ์ที่ขอรับรอง ข้าว 5 ไร่ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวแกง มะม่วงนำ้ดอกไม้ มะม่วงแรด มะม่วงอกร่อง มะขาม มะกอกป่า มะนาว มะตูม เชอรรี่ไทย มะขามป้อม กระท้อน ชมพู่มะเหมี่ยว ชมพู่น้ำดอกไม้ กุ่มน้ำ มะยงชิด สมอไทย มะกอกน้ำ มะกอกป่า ขมิ้นชัน ไพล สาเก สละอินโน อโวคาโด จันทร์ ท้อ มะยมแดง มะม่วงหาวมะนาวโห่ ส้มควาย ยอ มะเฟือง แค ตะลิงปลิง มะละกอ ขึ้เหล็ก ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า (เพิ่งปลูก) กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง ขนุน ละมุด ลำใย เงาะ เกาลัดไทย ดอกกิน ฟักข้าว มะรุม แก้วมังกร ไผ่ ดีปลี พริกไท หมาก มะขามยักษ์ ชะมวง มังคุด ลองกอง (อย่างละ 2-3 ต้น)
    ปัจจัยการผลิต อนุรักษ์ ไร่นาสวนผสม ลดพื้นที่จาก 2 แปลง รวม 24 ไร่ เป็น 1 แปลง 12 ไร่ เนื่องจากการขายที่ดินแปลงที่ 2 ออกไป ปุ๋ยอินทรีย์จากกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์พนัสนิคม และจากโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ อ.หนองใหญ่ ชลบุรี ฮอร์โมนไข่ น้ำหมักปลา ทำเอง สารสกัดสะเดา บริษัทสะเดาไทย สารสกัดสมุนไพร จากคุณวันเพ็ญสนลอยปราจีนบุรี ชีวภัณฑ์ยี่ห้อ "ชัดเจน" จากโรงงานผลิตจากบุรีรัมย์
    วันที่ทำเกษตรอินทรีย์ 01/07/2553
    ใช้สารเคมีครั้งสุดท้าย ใช้ครั้งสุดท้ายในปี 2552 เป็นปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดวัชพืช
    แหล่งน้ำที่ใช้ น้ำฝน, สระน้ำในไร่, น้ำบาดาล,
    ผู้บันทึกข้อมูล   อนุรักษ์ เรืองรอบ วันที่บันทึกข้อมูล 21/09/2561

    ที่ตั้งแปลง



    รายละเอียดประวัติแปลง

      ระบบจะแสดงข้อมูลเฉพาะ 20 กิจกรรมล่าสุด
    วันที่ปฏิบัติการปฏิบัติวันที่บันทึก
    8/19/2023ไล่นกสำหรับแปลงที่หว่านข้าว ตั้งแต่วันที่ 14 - 19 สิงหาคม8/19/2023
    8/14/2023หว่านข้าว สำหรับแปลงนาที่ไม่ได้โยนข้าว8/14/2023
    8/13/2023ไถดะแปลงที่ใช้เพาะกล้านาโยน เตรียมหว่าน8/14/2023
    8/12/2023ต้อนรับคณะครูและนักเรียนโรงเรียนวัดหนองรี ซึ่งพาเด็กชั้นประถม มาเรียนรู้ในการทำนา และทดลองโยนกล้านาโยน ประมาณ 1 ชั่วโมง และมีเพื่อนบ้าน และญาติมิตร แวะมาร่วมกิจกรรมโยนกล้าทั้งวัน จัดอาหารกลางวันเลี้ยงแขก เป็นขนมจี้นเส้นสด น้ำยา และน้ำพริก น้ำอัญชัญ และวุ้นกระทิมะพร้าวอ่อน8/14/2023
    8/9/2023ตัดหญ้าบริเวณ รอบบ้าน และสวนมะนาว 8/14/2023
    8/9/2023ตัดหญ้า บริเวณ คันนา เตรียมพร้อมสำหรับการโยนกล้าวันที่ 12 สิงหาคม วันแม่ 8/14/2023
    8/7/2023จ้างรถไถ ไถดะหมักไว้ ก่อนจะไถซ้ำก่อนวันทำนาโยน 8/14/2023
    7/30/2023เดินทางกลับจากระยองกลับปทุมธานี แวะลงแปลงเพื่อเก็บมะนาว ไปจำหน่ายที่ตลาดกลางเกษตรอินทรีย์ท้ายเกาะ8/14/2023
    7/28/2023รดน้ำกระบะเพาะกล้าทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฏาคม จนถึง วันที่ 11 สิงหาคม 25668/14/2023
    7/25/2023ยกกระบะเพาะกล้านาโยน 500 กระบะ ไปวางในพื้นที่โคลนเปียกที่จัดไว้ ที่ต้องให้เป็นโคลนเปียกเพราะความชื้นจะได้ขึ้นมาจากด้านล่างกระบะได้ด้วย นอกจากการรดน้ำจากด้านบน ซึ่งจะทำให้ความชื้นทั่วถึง และทำให้เมล็ดข้าวงอกสม่ำเสมอ และได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์8/14/2023
    7/22/2023วันที่ 22-24 ทยอยหยอดเมล็ดข้าวลงกระบะ และซ้อนเรียงไว้ จนครบ 500 กระบะ (ใช้กล้า 100 กระบะต่อไร่)8/14/2023
    7/20/2023เตรียมเมล็ดพันธ์ุ และเตรียมกระบะข้าว8/14/2023
    7/19/2023เตรียมดินที่ร่วนซุย ในการโรยกระบะเพาะกล้านาโยน8/14/2023
    4/25/2022ไถกลบตอซังและหญ้า เป็นการเติมฮิวมัสและปุ๋ยพืชสดลงแปลงนาอินทรีย์ ลดการใช้ปุ๋ยจากข้างนอก กว่าจะถึงฤดูทำนาก็จะมีการไถกลบแบบนี้อย่างน้อย 3-4 ครั้ง4/26/2022
    4/16/2022ปลูกมะนาวแป้นพิจิตร 20 ต้น4/26/2022
    4/9/2022ตัดแต่งกิ่งมะนาว4/9/2022
    4/8/2022ตัดหญ้าในสวนมะนาว4/9/2022
    4/7/2022ตัดหญ้าสวนรอบบ้าน4/9/2022
    4/6/2022ตัดหญ้าในแปลงนา4/9/2022
    3/5/2022ปลูกกล้วยหอม 10 กอ4/9/2022

    รายละเอียดต้นทุนแปลง

      ระบบจะแสดงข้อมูลเฉพาะ 20 กิจกรรมล่าสุด
    วันที่ปฏิบัติรายละเอียดจำนวนวันที่เพิ่ม
    ไม่พบข้อมูล

    รายละเอียดการใช้ปัจจัยการผลิต

      ระบบจะแสดงข้อมูลเฉพาะ 20 กิจกรรมล่าสุด
    วันที่ปฏิบัติ | วันที่เพิ่มชื่อปัจจัยการผลิตแหล่งผลิตปริมาณที่ใช้วิธีการใช้วัตถุประสงค์ที่ใช้
    ไม่พบข้อมูล

    ประวัติการตรวจประเมินแปลง มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS

    หมายเลขตรวจ : 17722 วันที่ตรวจ : 17/07/2566 เวลา 14.30-15.25

    หัวหน้าทีมตรวจแปลง :

    พิมพ์พิชา เกตุงาม

    ทีมผู้ตรวจแปลง

    เกสรา สัมฤทธิ์สาครสิน, เวชกา แซ่ซื้อ, อาภรณ์ ธิมาภรณ์,

    ผู้บันทึกข้อมูล

    พิมพ์พิชา เกตุงาม

    สรุปผลการตรวจประเมินแปลง

    ข้อที่ 1 MUST – เกษตรกรต้องแจ้งพื้นที่ทำการเกษตรที่ตัวเองครอบครองให้ผู้ตรวจทราบ ไม่ว่าจะใช้ประโยชน์หรือไม่ใช้ประโยชน์/เช่า/มีหรือไม่มีโฉนดที่ดินก็ตาม
    ข้อที่ 2 MUST แปลงเกษตรทุกแปลงจะต้องทำในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนทั้งหมด ภายในระยะเวลา 3 ปี อนุญาตให้ทดลองทำบางแปลงได้ใน 3 ปีแรก
    ข้อที่ 3 RECOMMEND เกษตรกรควรวัดค่าและปรับค่า pH ของดินตามประเภทของพืชที่ต้องการปลูก ควรนำดินและน้ำไปทำการตรวจวัดธาตุอาหารในดิน หรือสารเคมีตกค้างทุกปี
    ข้อที่ 4 MUST - พืชที่ปลูกในแปลงเคมีจะต้อง “ไม่ขอรับรอง” อนุญาตให้เป็นแปลงคู่ขนานได้ แต่พืชที่ขอรับรองในแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนจะต้องไม่เหมือนกับแปลงเคมี เกษตรกรต้องจัดแยกผลผลิตจากแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนชัดเจน ทั้งระยะปรับเปลี่ยนและระยะที่ได้รับการรับรองแล้วให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มี QR code ติดกับผลผลิต
    ข้อที่ 5 MUST - คันแดนแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน จะต้องแยกจากแปลงเคมีอย่างชัดเจนอย่างน้อยระยะห่าง 3 - 5 เมตร และถ้าแปลงข้างเคียงมีความเสี่ยงการปนเปื้อนสารเคมี เกษตรกรจะต้องจัดทำแนวกันชน (ปรับคันดินและปลูกพืช) ป้องกันการปนเปื้อน ทั้งนี้ พืชตามแนวกันชนไม่ขอรับรอง
    ข้อที่ 6 MUST - ห้ามปลูกข้าวในแปลงเกษตรเกษตรกรรมยั่งยืนที่ขอรับรองมากกว่า 2 รุ่นต่อปี ควรพักดินหรือปลูกพืชเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับปรุงดิน
    ข้อที่ 7 RECOMMEND - เกษตรกรควรปลูกข้าวและพืชผักไว้กินเอง เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร และสุขภาพที่ดีของครอบครัว
    ข้อที่ 8 RECOMMEND - เกษตรกรอาจขายข้าวเปลือกที่ปลูกในแปลงนา หรือแปลงรกร้างว่างเปล่า ที่ไม่มีการใช้สารเคมีเกษตรใดๆ (โดยไม่มีความเสี่ยง) เป็นเกษตรกรรมยั่งยืน SDGsPGS ได้หลังจากผ่านการรับรองจากคณะกรรมการระดับจังหวัด ทั้ง 22 ข้อ เป็นเวลา 36 เดือน
    ข้อที่ 9 RECOMMEND - ในกรณีของผักผลไม้และสมุนไพร เกษตรกรอาจขายผลผลิตที่ปลูกในแปลงสวน หรือแปลงรกร้างว่างเปล่า ที่ไม่มีการใช้สารเคมีเกษตรใดๆ (โดยไม่มีความเสี่ยง) เป็นเกษตรเกษตรกรรมยั่งยืน SDGsPGS ได้หลังจากผ่านการรับรองจากคณะกรรมการระดับจังหวัด ทั้ง 22 ข้อ เป็นเวลา 36 เดือน
    ข้อที่ 10 RECOMMEND ปศุสัตว์ที่เลี้ยงในแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนสามารถรับรองเป็นปศุสัตว์อินทรีย์ได้หากอาหารที่เลี้ยงเป็นอาหารอินทรีย์ หากเป็นอาหารระยะปรับเปลี่ยน ให้รับรองเป็นปศุสัตว์ “อารมณ์ดี” หรือระยะปรับเปลี่ยนสู่ปศุสัตว์อินทรีย์ตามระยะเวลาปรับเปลี่ยนด้วยอาหารเป็นเวลา 36 เดือน
    ข้อที่ 11 RECOMMEND หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีการคลุกสารเคมีและไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจน เกษตรกรควรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว/ผัก/ผลไม้ไว้ใช้เอง รวมถึงทราบแหล่งที่มาชัดเจน ในกรณีที่ไม่สามารถหาเมล็ดพันธุ์ที่ไม่คลุกสารเคมีได้ และถ้าจำเป็นต้องใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีให้นำเมล็ดพันธุ์ไปล้างน้ำอุ่น น้ำหมักชีวภาพ หรือสารชีวภัณฑ์ที่ไม่ละเมิดมาตรฐาน ก่อนนำไปเพาะปลูก
    ข้อที่ 12 MUST - ห้ามเกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนเร่ง สารเคมีสังเคราะห์ ห้ามใช้ปัจจัยการผลิตหรือปุ๋ยอินทรีย์ยี่ห้อที่ไม่ทราบส่วนผสมและไม่มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รับรอง ก่อนได้รับอนุญาตจากกลุ่มและเครือข่ายในพื้นที่นั้น
    ข้อที่ 13 MUST -ห้ามเผาตอซังและอินทรียวัตถุในแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนที่ขอรับรอง
    ข้อที่ 14 MUST -ห้ามใช้ถังฉีดสารเคมีการเกษตรทั่วไปร่วมกับแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน
    ข้อที่ 15 RECOMMEND - ให้ระมัดระวัง อย่าให้สารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน มาปนเปื้อนในแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน
    ข้อที่ 16 MUST – ห้ามนำผลผลิตจากแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนไปปะปนกับผลผลิตแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนระยะปรับเปลี่ยนและแปลงเกษตรทั่วไป ต้องจัดแยกผลผลิตแต่ละสถานะออกจากกันอย่างชัดเจน (ระยะเคมีทั่วไป/ระยะปรับเปลี่ยน/ระยะเกษตรกรรมยั่งยืน) ให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
    ข้อที่ 17 MUST - เกษตรกรที่ใช้รถเกี่ยวอุ้มหรือเกี่ยวนวดจะต้องทำความสะอาดรถเกี่ยวอุ้มก่อนนาไปใช้ และแยกข้าวที่ใช้ล้างเครื่องรถเกี่ยวอุ้ม หรือเกี่ยวนวด จำนวน 3 กระสอบแรก (ข้าวล้างเครื่อง) ไม่ถือว่าเป็นข้าวเกษตรกรรมยั่งยืน
    ข้อที่ 18 MUST - ห้ามใช้กระสอบปุ๋ยเคมีและภาชนะที่อาจมีสารเคมีปนเปื้อนมาใช้เพื่อจัดเก็บและขนส่งผลผลิตเกษตรเกษตรกรรมยั่งยืน ถุงและภาชนะที่ใช้ต้องสะอาด เหมาะที่จะใช้บรรจุปัจจัยการผลิต/ขนส่งอาหาร
    ข้อที่ 19 RECOMMEND - เกษตรกรควรมีโอกาสตรวจเลือดเพื่อวัดระดับสารเคมีในร่างกายว่าอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงหรือไม่ เพื่อนำไปปรับพฤติกรรมในการผลิตและบริโภคให้สอดคล้องกับหลักความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
    ข้อที่ 20 RECOMMEND - เกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการฯ จะต้องร่วมกันพัฒนากลุ่ม ร่วมกันลงหุ้น เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มทุกครั้ง การขาดการเข้าร่วมประชุมมากกว่า 3 ครั้งเกษตรกรอาจถูกตัดสิทธิการเป็นสมาชิกของกลุ่มได้
    ข้อที่ 21 MUST – เกษตรกรต้องจัดทำบันทึกฟาร์ม บัญชีฟาร์ม สมุดเยี่ยมฟาร์ม โดยละเอียด จะต้องนำมาให้ผู้ตรวจแปลงพิจารณาว่ามีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์ในปัจจัยการผลิตและกิจกรรมที่ทำหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งในการใช้เป็นหลักฐานขอรับรองมาตรฐานระดับสากลควบคู่กันไปด้วย
    ข้อที่ 22 MUST – เกษตรกรยินยอมให้มีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดแปลงและผลการตรวจแปลงเท่าที่จำเป็น ภายในเครือข่ายฯ และคณะกรรมการรับรองระดับจังหวัดที่ขับเคลื่อนมาตรฐานเกษตรกรรมยั่งยืน SDGsPGS เท่านั้น ไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลเป็นสาธารณะและเพื่อการค้าขายข้อมูลโดยเด็ดขาด




    ภาพและวีดีโอประกอบการตรวจประเมินแปลง

    ผลการกลั่นกรองของคณะทำงานกลั่นกรองระดับจังหวัด

    ผ่านการกลั่นกรอง SDGsPGS "อินทรีย์ "
    วันที่ประชุมกลั่นกรอง 13/08/2566


    ผลการรับรองคณะกรรมการรับรองระดับจังหวัด

    ผ่านการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS "อินทรีย์"
    วันที่รับรอง 25/08/2566




    ข้อมูลแผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ ประจำปี 2567

    สนใจสินค้าสามารถโทรสั่งซื้อได้ที่ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนชลบุรี
    ประเภทชื่อแปลงวันที่เริ่มปลูกจำนวน(กก.)
    ไม่พบข้อมูลแผนการผลิต