ข้อมูลเกษตรกรหัวใจอินทรีย์
จังหวัดลำปาง


นางสาวกัลยา อุดมทรัพย์
รหัสเกษตรกร 15394

อ่าน 12 ครั้ง
ข้าพเจ้า กัลยา อุดมทรัพย์
ขอปฏิญาณตนว่า
1.ข้าพเจ้าจะซื่อสัตย์ต่ออาชีพเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด เพื่อสุขภาวะที่ดีของตนเอง ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
2.ข้าพเจ้าเข้าร่วมทำงานกับ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนลำปาง เจริญก้าวหน้าในทุกๆด้าน
3.ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามกฎระเบียบของ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนลำปาง อย่างเคร่งครัด
ที่ตั้ง :
194 หมู่ 11 ปงประดู่ ตำบล เสริมขวา  อ.เสริมงาม จังหวัด ลำปาง
สังกัดศูนย์/กลุ่ม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เสริมขวา
เบอร์โทร : 0954484XXX
Young Smart Farmer ไช่ ไม่ใช่
จำนวนโรงเรือนปลูกผัก 2 โรง
วันที่เป็นสมาชิก SDGsPGS : 05/09/2564

ผู้เพิ่มข้อมูล เรนู ฟูจุมปา

ข้อมูลแปลง

พื้นที่ทั้งหมด 6.00 ไร่ พื้นที่เกษตรอินทรีย์ 1 แปลง 6.00 ไร่

ชื่อแปลง : สวนแม่นายเมืองเสริม
[เปิดดู : 26 ครั้ง ]
รหัสแปลง : 12370พื้นที่ : 6 ไร่
  • ตรวจครั้งที่ 1 วันที่ตรวจ 09/09/2564
  • ผลการตรวจแปลง :
    รับรองโดยไม่มีเงื่อนไข


    ผู้บริโภคทุกท่านเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการมีส่วนร่วม

    เชิญทุกท่านเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

    ชื่อแปลง : สวนแม่นายเมืองเสริม 26



    ภาพวาดแปลงที่ขอรับการตรวจ

    ข้อมูลการตรวจห้องปฏิบัติการ

    ไม่มีผลการตรวจห้องปฏิบัติการ

    ข้อมูลแปลง

    รายการตรวจผลการตรวจ
    ที่ตั้งละติจูด : 18.115044 ลองติจูด : 99.189262
    ประเภทกรรมสิทธิ์ ตัวเอง
    การจัดการพื้นที่ ตัวเอง
    ประเภทการขอรับรอง ผักอินทรีย์,ผลไม้อินทรีย์,สมุนไพรอินทรีย์,
    ผลการตรวจสถานที่เก็บผลผลิต
    ที่เก็บอุปกรณ์
    มีสถานที่เก็บอุปกรณ์เรียบร้อยดี
    ผลิตภัณฑ์ที่ขอรับรอง กล้วยหอมทอง50ต้น, กล้วยเล็บมือนาง30 ต้น, กล้วยไข่กำแพงเพชร 30ต้น, กล้วยน้ำหว้าปากช่อง30, ต้น, ตะไคร้ 200 ต้น, ข่า200ต้น, พริกจินดา 30 ต้น, พริกเครือ 50 ต้น, มะพร้าวน้ำหอม10ต้น, ลำไย 10ต้น, มะม่วงน้ำดอกไม้4ต้น, มะละกอฮอแลน 30ต้น, อินทพาลัมพัธุ์บาฮี 7ต้น, มะขามป้อม40ต้น, น้อยหน่าพันธุ์พื้นเมือง 10ต้น, ฝรั่งกิมจู 10ต้น, ข้าวโพด 0.125งาน , ถั่วฝักยาว 40 ต้น ,บวบเหลี่ยม 40 ต้น, กะหล่ำปลี 50ต้น , หอมป้อม 0. .62.5งาน, ผักบุ้งจีน 0.62.5 งาน, สลัด 0.62.5งาน
    ปัจจัยการผลิต น้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ส่วนผสมของจุลินทรีย์ ไข่ไก่ 10 ฟอง ผสมน้ำ 10 ลิตร ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ 10 ช้อนโต๊ะ และการหมักฟางข้าวผสมเศษหญ้าใบไม้ในสวนผสมขี้วัวราดด้วยจุลินทรีย์ทำเป็นปุ๋ยหมักใช้ในสวน การใช้ต้นหญ้าให้เป็นปุยโดยการตัดหญ้าเดือนละครั้งปล่อยหญ้าที่ตัดทิ้งไว้รอให้มันแห้งเดี๋ยวหญ้าก็เปื่อยกลายเป็นปุ๋ย การเหยียบหญ้าให้เป็นปุ๋ยหากมีหญ้าตรงต้นไม้ที่เราปลูกเราก็ใช้วิธีเหยียบหญ้าแล้วเอาฟางข้าวมากลบหญ้าที่ไม่ได้รับแสงแดดก็จะตายและกลายเป็นปุ๋ยให้เรา เลี้ยงเพาะพันธุ์แหนแดงไว้ทำปุ๋ยพืชสดใช้เอง,ใช้น้ำปะปาภูเขา
    วันที่ทำเกษตรอินทรีย์ 05/06/2561
    ใช้สารเคมีครั้งสุดท้าย ไม่ใช้สารเคมีเลย
    แหล่งน้ำที่ใช้ น้ำฝน,
    ผู้บันทึกข้อมูล   เรนู ฟูจุมปา วันที่บันทึกข้อมูล 20/06/2567

    ที่ตั้งแปลง



    รายละเอียดประวัติแปลง

      ระบบจะแสดงข้อมูลเฉพาะ 20 กิจกรรมล่าสุด
    วันที่ปฏิบัติการปฏิบัติวันที่บันทึก
    7/14/2023มรคณะของผู้ตรวจแปลงเกษตรอิทรีย์ของอำเภอเสริมงามเข้าไปเยี่ยมชมสวน7/14/2023
    1/15/2023ตัดหญ้ารอบๆบริเวณรั้วเพราะใกล้เข้าหน้าแล้งกลัวไฟป่า3/27/2023
    5/22/2022หว่านปอเทืองที่ถอนหญ้าเสร็จตรงแปลงต้นกล้วยและรอบบริเวณบ่อเลี้ยงปลา ตอนบ่ายมาปลูกถั่วลิสง และข้าวโพดหวานบริเวณทิศเหนือติดกับต้นชะอม5/22/2022
    5/21/2022ถอนหญ้ารอบต้นกล้วยทิศตะวันออก เพื่อจะหว่านปอเทืองคลุมหญ้า5/22/2022
    5/20/2022ร่วมกิจกรรมทำปุ๋ยน้ำและปุ๋ยหมักขี้วัวทำปุ๋ยน้ำจากเปลือกสัปรดผสมกับกากน้ำตาลและน้ำหมักไว้ใช้พ่นใบและปุ๋ยน้ำหมักขี้วัว ส่วนผสของการทำปุ๋ยน้ำหมักขี้วัวมีเปลือกสัปรดและขี้วัว กากน้ำตาล และนมเปรี้ยว หมักไว้ใช้รดต้น และทำปุ๋ยหมักจากหญ้าเนเปียเพราะหญ้าเนเปียมีธาตุไนโตรเจนสูง ขี้วัวก็มีธาตุไนโตรเจนเหมือนกันแต่มีมีน้อยกว่าหญ้าสดๆ ส่วนผสมการทำปุ๋ยหมักแห้ง มีหญ้าเนเปีย 200 กก. ขี้วัว 30 กระสอบ ขี้ไก่แกลบอีก 10 กระสอบ แกลบเผาอีก 10 กระสอบ กากน้ำตาล 10 กก.ผสมน้ำอีก 100 ลิตร ตักราด ทำการคลุกเคล้าผสมเข้าด้วยกันหมักไว้ หมักไว้ 15 วันจับดูถ้าไม่จับตัวกันถือว่าใช้ได้ 5/22/2022
    5/19/2022ถอนหญ้าบริเวณต้นอินทพาลัมบริเวณรอบบ่อเลี้ยงปลาเอาหญ้าที่ถอนเสร็จคลุมต้นไม้บริเวณนั้นต่อ5/22/2022
    5/14/2022วันนี้พักไปหาหมอ 1 วัน เนื่องจากหมอนรองกระดูกอักเสบ5/14/2022
    5/13/2022ลงมือขุดหน่อกล้วยหอมเขียวอีก 20หน่อและหน่อกล้วยไข่อีก 10 หน่อ รวมกับหน่อกล้วยน้ำหว้าของวันที่ 12 รวมเป็น 60 หน่อ วันนี้ได้ลงมือปลูกทั้ง 60 หน่อเสร็จภายใน 1 วันพอดี เพระวันนี้ตรงวันพืชมงคลพอดี ปลูกพืชในวันนี้จะได้เป็นมงคล โบราณบอกมาค่ะ5/14/2022
    5/12/2022ขุดหน่อกล้วยออกเพื่อเตรียมขยายได้ทั้งหมดจำนวน 30 หน่อ เตรียมปลูกพรุ่งนี้5/13/2022
    5/6/2022ทำการปรุงดินเพื่อเอาไว้ใช้ปลูกต้นไม้ โดยใช้ปุ๋ยคอก 3 กระสอบ แกลบจากโรงสี 3 กระสอบ เศษถ่าน 3 กระสอบ ทำการคลุกเคล้ากันราดด้วยน้ำหมัดจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ทำไว้ คลุมด้วยผ้าสแลน หมักไว้ 15 วันจึงเอามาใช้ได้5/7/2022
    5/6/2022ทำการปรุงดินเพื่อเอาไว้ใช้ปลูกต้นไม้ โดยใช้ปุ๋ยคอก 3 กระสอบ แกลบจากโรงสี 3 กระสอบ เศษถ่าน 3 กระสอบ ทำการคลุกเคล้ากันราดด้วยน้ำหมัดจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ทำไว้ คลุมด้วยผ้าสแลน หมักไว้ 15 วันจึงเอามาใช้ได้5/7/2022
    5/5/2022ถางหญ้าพรวนดินบริเวณที่ปลูกฝรั่งกิมจู หวานปอเทืองคลุมหญ้า5/7/2022
    5/2/2022ปลูกต้นมะกอกฝรั่งจำนวน1 ต้นที่ซื้อมาจากในเมือง5/3/2022
    5/2/2022ขุดหน่อกล้วยที่มีอยู่นำมาขยายปลูกต่อ มีกล้วยน้ำหว้า 10 หน่อ กล้วยไข่ 10 หน่อ ต่อด้วยคลุมหน้าดินด้วยฟางข้าว5/3/2022
    4/21/2022ขนดินที่หมักไว้เอาไปไว้เป็นจุดๆที่จะปลูกต้นไม้ วันนี้ปลูกไผ่หวานที่ได้จาก อบต เสริมขวาให้มา 2 ต้น ปลูกทุเรียน ที่ซื้อมาจากจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 1 ต้น 4/22/2022
    4/20/2022ถางหญ้าบริเวณต้นฝรั่งกิมจูแล้วก็ไปขุดหญ้าแฝกที่ปลูกไว้บริเวณใต้ต้นสัก นำมาปลูกกันบ่อที่ขุดใหม่พังกันดินสไลด์ลง ทั้ง 2 บ่อ บริเณหัวท้ายของบ่อที่ขุดไว้4/20/2022
    4/19/2022ปรับพื้นที่เตรียมลงต้นเสาวรสที่เพาะไว้จำนวน 50 ต้น4/20/2022
    4/19/2022พรวนดินต้นกล้วย บำรุงด้วยน้ำหมักเศษอาหาร แล้วก้อนำมะพร้าวที่เพาะไว้ปลูกต้นเพิ่มอีก 2 ต้น4/20/2022
    4/17/2022เพาะบวบในถาดเพาะเมล็ดจำนวน 150 หลุม4/17/2022
    4/16/2022บำรุงต้นถั่วและข้าวโพดและบวบหอมยาว ด้วยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ทำไว้4/17/2022

    รายละเอียดต้นทุนแปลง

      ระบบจะแสดงข้อมูลเฉพาะ 20 กิจกรรมล่าสุด
    วันที่ปฏิบัติรายละเอียดจำนวนวันที่เพิ่ม
    05/09/2564 ค่าน้ำมันจากการใช้เครื่องจักรการเกษตร
    ซื้อเบนซินน้ำมันใส่เครื่องตัดหญ้า
    200 06/09/2564
    24/08/2564 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เช่น ท่อ สายส่งน้ำ สปริงเกิล
    กะละมัง
    300 30/09/2564
    16/08/2564 ค่าซ่อมบำรุง เครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร
    เตาปูน 6 ต้น กระเบื้องมุงหลังคา ตาข่าย ไม้กั้นฝ้า
    8500 30/09/2564
    10/05/2564 ค่าจ้างเตรียมดิน เช่น ไถแปร ไถดะ ปั้นนา
    ค่ารถไถ
    600 30/09/2564
    05/01/2564 ค่าจ้างเตรียมดิน เช่น ไถแปร ไถดะ ปั้นนา
    ค่ารถไถ
    600 30/09/2564
    30/11/2563 ค่าน้ำมันจากการใช้เครื่องจักรการเกษตร
    ค่าน้ำมันดีเซล
    100 30/09/2564
    01/11/2563 ค่าจ้างเตรียมดิน เช่น ไถแปร ไถดะ ปั้นนา
    ค่าน้ำมัน
    6000 30/09/2564
    05/10/2563 ค่าปุ๋ย/มูลสัตว์
    ขี้วัวปุ๋ยคอก
    300 30/09/2564
    06/09/2563 ค่าจ้างเตรียมดิน เช่น ไถแปร ไถดะ ปั้นนา
    น้ำมันดีเซล
    100 30/09/2564
    01/06/2563 ค่าน้ำมันจากการใช้เครื่องจักรการเกษตร
    น้ำมันดีเซล
    100 30/09/2564
    01/01/2563 ค่าจ้างเตรียมดิน เช่น ไถแปร ไถดะ ปั้นนา
    ค่ารถไถ
    500 30/09/2564
    30/12/2562 ค่าจ้างเตรียมดิน เช่น ไถแปร ไถดะ ปั้นนา
    ค่ารถขุด
    6000 30/09/2564
    01/12/2562 ค่าน้ำมันจากการใช้เครื่องจักรการเกษตร
    ค่าน้ำมันเบนซิน
    30 30/09/2564
    05/08/2562 ค่าน้ำมันจากการใช้เครื่องจักรการเกษตร
    น้ำมันดีเซล
    100 30/09/2564
    05/06/2561 ค่าจ้างเตรียมดิน เช่น ไถแปร ไถดะ ปั้นนา
    ค่ารถไถ
    3600 30/09/2564
    07/09/2561 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เช่น ท่อ สายส่งน้ำ สปริงเกิล
    ลวดหนาม
    4500 30/09/2564
    12/11/2561 ค่าน้ำมันจากการใช้เครื่องจักรการเกษตร
    น้ำมันดีเซลใส่รถไถเดินตาม
    100 30/09/2564
    07/10/2564 ค่าน้ำมันจากการใช้เครื่องจักรการเกษตร
    ซื้อเบนซินน้ำมันใส่เครื่องตัดหญ้า
    100 08/10/2564
    08/10/2564 ค่าจ้างแรงงาน รวมแรงงานตัวเอง
    สีทาทำป้ายต่างๆติดที่สวน
    250 08/10/2564
    08/10/2564 ค่าจ้างเตรียมดิน เช่น ไถแปร ไถดะ ปั้นนา
    รถขุด
    13000 09/10/2564

    รายละเอียดการใช้ปัจจัยการผลิต

      ระบบจะแสดงข้อมูลเฉพาะ 20 กิจกรรมล่าสุด
    วันที่ปฏิบัติ | วันที่เพิ่มชื่อปัจจัยการผลิตแหล่งผลิตปริมาณที่ใช้วิธีการใช้วัตถุประสงค์ที่ใช้
    ไม่พบข้อมูล

    ประวัติการตรวจประเมินแปลง มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS

    หมายเลขตรวจ : 12995 วันที่ตรวจ : 09/09/2564 เวลา 08.00-12.00

    หัวหน้าทีมตรวจแปลง :

    เทพ เชียงแก้ว

    ทีมผู้ตรวจแปลง

    จินดารัตน์ จินดารัตนทัต, เพลิน เทพก๋อง, เรนู ฟูจุมปา,

    ผู้บันทึกข้อมูล

    ณัฐชานันท์ อัครทวีจิรโชติ

    สรุปผลการตรวจประเมินแปลง

    ข้อที่ 1 MUST – เกษตรกรต้องแจ้งพื้นที่ทำการเกษตรที่ตัวเองครอบครองให้ผู้ตรวจทราบ ไม่ว่าจะใช้ประโยชน์หรือไม่ใช้ประโยชน์/เช่า/มีหรือไม่มีโฉนดที่ดินก็ตาม
    ข้อที่ 2 MUST แปลงเกษตรทุกแปลงจะต้องทำในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนทั้งหมด ภายในระยะเวลา 3 ปี อนุญาตให้ทดลองทำบางแปลงได้ใน 3 ปีแรก
    ข้อที่ 3 RECOMMEND เกษตรกรควรวัดค่าและปรับค่า pH ของดินตามประเภทของพืชที่ต้องการปลูก ควรนำดินและน้ำไปทำการตรวจวัดธาตุอาหารในดิน หรือสารเคมีตกค้างทุกปี
    ข้อที่ 4 MUST - พืชที่ปลูกในแปลงเคมีจะต้อง “ไม่ขอรับรอง” อนุญาตให้เป็นแปลงคู่ขนานได้ แต่พืชที่ขอรับรองในแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนจะต้องไม่เหมือนกับแปลงเคมี เกษตรกรต้องจัดแยกผลผลิตจากแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนชัดเจน ทั้งระยะปรับเปลี่ยนและระยะที่ได้รับการรับรองแล้วให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มี QR code ติดกับผลผลิต
    ข้อที่ 5 MUST - คันแดนแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน จะต้องแยกจากแปลงเคมีอย่างชัดเจนอย่างน้อยระยะห่าง 3 - 5 เมตร และถ้าแปลงข้างเคียงมีความเสี่ยงการปนเปื้อนสารเคมี เกษตรกรจะต้องจัดทำแนวกันชน (ปรับคันดินและปลูกพืช) ป้องกันการปนเปื้อน ทั้งนี้ พืชตามแนวกันชนไม่ขอรับรอง
    ข้อที่ 6 MUST - ห้ามปลูกข้าวในแปลงเกษตรเกษตรกรรมยั่งยืนที่ขอรับรองมากกว่า 2 รุ่นต่อปี ควรพักดินหรือปลูกพืชเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับปรุงดิน
    ข้อที่ 7 RECOMMEND - เกษตรกรควรปลูกข้าวและพืชผักไว้กินเอง เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร และสุขภาพที่ดีของครอบครัว
    ข้อที่ 8 RECOMMEND - เกษตรกรอาจขายข้าวเปลือกที่ปลูกในแปลงนา หรือแปลงรกร้างว่างเปล่า ที่ไม่มีการใช้สารเคมีเกษตรใดๆ (โดยไม่มีความเสี่ยง) เป็นเกษตรกรรมยั่งยืน SDGsPGS ได้หลังจากผ่านการรับรองจากคณะกรรมการระดับจังหวัด ทั้ง 22 ข้อ เป็นเวลา 36 เดือน
    ข้อที่ 9 RECOMMEND - ในกรณีของผักผลไม้และสมุนไพร เกษตรกรอาจขายผลผลิตที่ปลูกในแปลงสวน หรือแปลงรกร้างว่างเปล่า ที่ไม่มีการใช้สารเคมีเกษตรใดๆ (โดยไม่มีความเสี่ยง) เป็นเกษตรเกษตรกรรมยั่งยืน SDGsPGS ได้หลังจากผ่านการรับรองจากคณะกรรมการระดับจังหวัด ทั้ง 22 ข้อ เป็นเวลา 36 เดือน
    ข้อที่ 10 RECOMMEND ปศุสัตว์ที่เลี้ยงในแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนสามารถรับรองเป็นปศุสัตว์อินทรีย์ได้หากอาหารที่เลี้ยงเป็นอาหารอินทรีย์ หากเป็นอาหารระยะปรับเปลี่ยน ให้รับรองเป็นปศุสัตว์ “อารมณ์ดี” หรือระยะปรับเปลี่ยนสู่ปศุสัตว์อินทรีย์ตามระยะเวลาปรับเปลี่ยนด้วยอาหารเป็นเวลา 36 เดือน
    ข้อที่ 11 RECOMMEND หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีการคลุกสารเคมีและไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจน เกษตรกรควรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว/ผัก/ผลไม้ไว้ใช้เอง รวมถึงทราบแหล่งที่มาชัดเจน ในกรณีที่ไม่สามารถหาเมล็ดพันธุ์ที่ไม่คลุกสารเคมีได้ และถ้าจำเป็นต้องใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีให้นำเมล็ดพันธุ์ไปล้างน้ำอุ่น น้ำหมักชีวภาพ หรือสารชีวภัณฑ์ที่ไม่ละเมิดมาตรฐาน ก่อนนำไปเพาะปลูก
    ข้อที่ 12 MUST - ห้ามเกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนเร่ง สารเคมีสังเคราะห์ ห้ามใช้ปัจจัยการผลิตหรือปุ๋ยอินทรีย์ยี่ห้อที่ไม่ทราบส่วนผสมและไม่มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รับรอง ก่อนได้รับอนุญาตจากกลุ่มและเครือข่ายในพื้นที่นั้น
    ข้อที่ 13 MUST -ห้ามเผาตอซังและอินทรียวัตถุในแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนที่ขอรับรอง
    ข้อที่ 14 MUST -ห้ามใช้ถังฉีดสารเคมีการเกษตรทั่วไปร่วมกับแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน
    ข้อที่ 15 RECOMMEND - ให้ระมัดระวัง อย่าให้สารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน มาปนเปื้อนในแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน
    ข้อที่ 16 MUST – ห้ามนำผลผลิตจากแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนไปปะปนกับผลผลิตแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนระยะปรับเปลี่ยนและแปลงเกษตรทั่วไป ต้องจัดแยกผลผลิตแต่ละสถานะออกจากกันอย่างชัดเจน (ระยะเคมีทั่วไป/ระยะปรับเปลี่ยน/ระยะเกษตรกรรมยั่งยืน) ให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
    ข้อที่ 17 MUST - เกษตรกรที่ใช้รถเกี่ยวอุ้มหรือเกี่ยวนวดจะต้องทำความสะอาดรถเกี่ยวอุ้มก่อนนาไปใช้ และแยกข้าวที่ใช้ล้างเครื่องรถเกี่ยวอุ้ม หรือเกี่ยวนวด จำนวน 3 กระสอบแรก (ข้าวล้างเครื่อง) ไม่ถือว่าเป็นข้าวเกษตรกรรมยั่งยืน
    ข้อที่ 18 MUST - ห้ามใช้กระสอบปุ๋ยเคมีและภาชนะที่อาจมีสารเคมีปนเปื้อนมาใช้เพื่อจัดเก็บและขนส่งผลผลิตเกษตรเกษตรกรรมยั่งยืน ถุงและภาชนะที่ใช้ต้องสะอาด เหมาะที่จะใช้บรรจุปัจจัยการผลิต/ขนส่งอาหาร
    ข้อที่ 19 RECOMMEND - เกษตรกรควรมีโอกาสตรวจเลือดเพื่อวัดระดับสารเคมีในร่างกายว่าอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงหรือไม่ เพื่อนำไปปรับพฤติกรรมในการผลิตและบริโภคให้สอดคล้องกับหลักความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
    ข้อที่ 20 RECOMMEND - เกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการฯ จะต้องร่วมกันพัฒนากลุ่ม ร่วมกันลงหุ้น เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มทุกครั้ง การขาดการเข้าร่วมประชุมมากกว่า 3 ครั้งเกษตรกรอาจถูกตัดสิทธิการเป็นสมาชิกของกลุ่มได้
    ข้อที่ 21 MUST – เกษตรกรต้องจัดทำบันทึกฟาร์ม บัญชีฟาร์ม สมุดเยี่ยมฟาร์ม โดยละเอียด จะต้องนำมาให้ผู้ตรวจแปลงพิจารณาว่ามีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์ในปัจจัยการผลิตและกิจกรรมที่ทำหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งในการใช้เป็นหลักฐานขอรับรองมาตรฐานระดับสากลควบคู่กันไปด้วย
    ข้อที่ 22 MUST – เกษตรกรยินยอมให้มีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดแปลงและผลการตรวจแปลงเท่าที่จำเป็น ภายในเครือข่ายฯ และคณะกรรมการรับรองระดับจังหวัดที่ขับเคลื่อนมาตรฐานเกษตรกรรมยั่งยืน SDGsPGS เท่านั้น ไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลเป็นสาธารณะและเพื่อการค้าขายข้อมูลโดยเด็ดขาด




    ภาพและวีดีโอประกอบการตรวจประเมินแปลง



    ผลการกลั่นกรองของคณะทำงานกลั่นกรองระดับจังหวัด

    ผ่านการกลั่นกรอง SDGsPGS "อินทรีย์ "
    วันที่ประชุมกลั่นกรอง 01/03/2565


    ผลการรับรองคณะกรรมการรับรองระดับจังหวัด

    ผ่านการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS "อินทรีย์"
    วันที่รับรอง 17/03/2565




    ข้อมูลแผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ ประจำปี 2567

    สนใจสินค้าสามารถโทรสั่งซื้อได้ที่ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนลำปาง
    ประเภทชื่อแปลงวันที่เริ่มปลูกจำนวน(กก.)
    ไม่พบข้อมูลแผนการผลิต