มอบนโยบายให้กับเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศ CoE  19

คำสำคัญ : coe  ปอว.  
เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567 เวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว. (ถนนโยธี) คณะผู้บริหารศูนย์ความเป็นเลิศ 11 ศูนย์ในสังกัดสำนักงานโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (PERDO) กลุ่มยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ววน. (ยส.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ได้เข้าพบผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เพื่อรายงานสถานภาพการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศ ทั้ง 11 ศูนย์ และรับทราบแนวนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานต่อไปในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน และมีคณะผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกอบด้วย นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดร.เอกชัย เขื่อนมณี ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ววน. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ สป.อว. 
 
ในโอกาสนี้ผู้บริหารศูนย์ความเป็นเลิศ ทั้ง 11 ศูนย์ ได้รายงานถึงพันธกิจและผลสัมฤทธิ์ของ
การดำเนินงานของแต่ละศูนย์ตลอดเส้นทางการดำเนินงานกว่า 25 ปี นับตั้งแต่ 2542 เป็นต้นมา ซึ่งมีพัฒนาการและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการทางยุทธศาสตร์ของประเทศมาโดยตลอด ตั้งแต่การสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยของประเทศ การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ 
การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีและนวัตกรรม กระทั่งถึงการขับเคลื่อนการทำงานวิจัยและพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบและครบวงจรในปัจจุบัน โดยมีผลงานในภาพรวม ดังนี้
1. การพัฒนากำลังคนระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ประกอบด้วย
   1.1 นักวิจัยอาวุโส จำนวน 3,500 คน
   1.2 นักวิจัยรุ่นใหม่ 
   1.3 ระดับหลังปริญญาเอก จำนวน 316 คน ประกอบด้วย
         - ระดับปริญญาเอก จำนวน 2,947 คน
         - ระดับปริญญาโท จำนวน 9,283 คน
2. การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม ประกอบด้วย 
   2.1 ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี จำนวน 390 ชิ้นงาน 
   2.2 ทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน 349 ชิ้นงาน
   2.3 ผลงานวิจัยตีพิมพ์ จำนวน 12,986 ชิ้นงาน
3. การพัฒนาความร่วมมือกับภาคการผลิต/บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี ประกอบด้วย
   3.1 วิจัยร่วมกับภาครัฐและเอกชน จำนวน 2,150 โครงการ
   3.2 พัฒนาระบบคาดการสถานการณ์และระบบเตือนภัย จำนวน 50 โครงการ
   3.3 ถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝึกอบรม และบริการวิชาการ จำนวน 3,416 โครงการ
   3.4 บริการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และรับรองมาตรฐาน จำนวน 88,547 ครั้ง 
 
(red arroทั้งนี้ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้มอบนโยบายสำหรับการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศในอนาคต 2 ประเด็น ดังนี้
1. สนับสนุนให้มีการจัดทำตัวชี้วัดร่วม (Joint KPI) ระหว่างศูนย์ความเป็นเลิศกับหน่วยอื่นในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้การทำงานเกิดผลกระทบสูงต่อการพัฒนาประเทศ และเป็นการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี (National Research Infrastructure) ที่รัฐได้ลงทุนเป็นจำนวนมากให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย ปอว. คาดหวังว่าจะเกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กระทรวง อว. อย่างเป็นระบบและสามารถส่งมอบผลงานที่มีผลกระทบสูงได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. สนับสนุนการสร้างกำลังคนทักษะสูง (High Skill Workforces) ทั้งในรูปแบบที่เป็น Degree 
และ Non Degree ในสาขาที่แต่ละศูนย์ความเป็นเลิศมีความเชี่ยวชาญ และให้ศูนย์ความเป็นเลิศใช้ทักษะความเชี่ยวชาญตลอดจนทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่สนับสนุนงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาทั่วไป และการพัฒนาทักษะข้ามสายงานในสถาบันอุดมศึกษา (Center of Excellence for General Education and Transferable Skills: GenEd) ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ภายใต้การดูแลของ กปว.สป.อว. ซึ่ง ปอว.คาดหวังว่า โครงการ GenEd นี้ จะเป็น Game Changer สำหรับการผลิตกำลังคนทักษะสูงของประเทศให้มีทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skills) ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) เพิ่มเติม ตอบโจทย์นโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) นำประเทศสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ไม่สิ้นสุดต่อไป ซึ่งจะเป็นกลที่สำคัญในการฉุดประเทศให้ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) สู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
นโยบาย RSP ปอว. 
1. Joint KPI CoE+RSP+STO
2. High Skill Workforce by RSP+CoE (life long learning culture) growth mindset/adapt ability to change  
---------------------------------------------------------------------------------
 
 
 
 
 
ผู้เข้าร่วม

ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ CoE ณ พ.ย.67

ศ.ดร.ชุติมา คูหากาญจน์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี
รศ.ดร.เอกสิทธิ์ สมสุข อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี
ศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์  ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา
รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา
นายสุรชัย ลีวัฒนานุกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารของเสียและอันตราย
ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
ศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ดร.อรอุบล ชมเดช ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
ศ.เกียรติคุณ ดร.ดนัย บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
ศ.เกียรติคุณ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์
รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ หัวหน้าหน่วยวิจัยด้านคณิตศาสตรศึกษา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์
รศ.ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์
ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ดร.มัณนาน มามะ  ผู้จัดการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ผศ.ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์

เขียนโดย : นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ekapong@mhesi.go.th